การสังเคราะห์ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ลัดดา สำรองพันธ์
วราพร เอราวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่าง ได้แก่ งานวิจัยในระบบสืบค้นฐาน
ข้อมูลฉบับเต็มมหาวิทยาลัย (ThaiLis digital collection) ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 - 2561
จำ นวน 42 เล่ม ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำ นักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 สุรินทร์ เขต 3 และศรีสะเกษ เขต 3 จำ นวน 164 คน
และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์
เขต 2 สุรินทร์ เขต 3 และศรีสะเกษ เขต 3 จำ นวน 389 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ
(stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสรุป
คุณลักษณะของงานวิจัย แบบสอบถาม และแบบทดสอบวินิจฉัยการอ่านออกเขียนได้ และวิเคราะห์ข้อมูล
โดยการวิเคราะห์อภิมาน (meta analysis) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard
deviation) การจัดอันดับคุณภาพ (rank order) และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 1 มี 7 ปัญหา ได้แก่ 1) พยัญชนะ 2) สระ 3) วรรณยุกต์ 4) คำ ที่ไม่มีมาตราตัวสะกด 5) คำ
ที่มีมาตราตัวสะกด 6) คำ ควบกล้ำ และ7) คำ ที่มีอักษรนำ และแนวทางการส่งเสริมการอ่านออกเขียน
ได้ มี 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การใช้รูปแบบการสอน มากที่สุด คือ การสอนแบบประสมประสาน 2) การใช้
เทคนิคและวิธีการสอน มากที่สุด คือ การอ่านสะกดคำ และ 3) การใช้สื่อการเรียนรู้ มากที่สุด คือ แบบ
ฝึกทักษะ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ลัดดา สำรองพันธ์, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Faculty of education Mahasarakham University

วราพร เอราวรรณ์, ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

นิตย์ พรหมประสิทธิ์. (2559). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study) เรื่อง การแก้ปัญหาการ

อ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านภาษาไทยกรณีศึกษา :

โรงเรียนบ้านลาแล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 2. สถาบัน

พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา.

ปรกฉัตร เลี้ยงรักษา. (2555). การศึกษาการอ่านออกเสียงและการเขียนสะกดพยัญชนะต้นควบภาษา

ไทยของเด็กที่มีปัญหาทางการอ่านและการเขียน. https://dric.nrct.go.th/Search/index#top.

ปาริฉัตร พลสมบัติ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกอ่านออกเสียงภาษาไทยตามหลักสัทศาสตร์ เพื่อส่ง

เสริมความสามารถในการออกเสียงภาษาไทยและเจตคติต่อการออกเสียงภาษาไทย สำ หรับ

นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

พิชญา สุวรรณโน (2562). แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้าน

ควนลัง (ราษฎร์สามัคคี) จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พูนพงษ์ งามเกษม. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงเรียน

ตำ รวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูแมน. https://dric.nrct.go.th/Search/index#top.

พรชนก สีดาบุตร. (2559). ระบบเสียงภาษาเขมรถิ่นไทยตำ บลตะเคียนราม อำ เภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

[ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2555). การสร้างรูปแบบและสื่อการสอนเพื่อพัฒนาระดับความสามารถในการอ่าน

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและปัญหาการอ่านของ

นักเรียนเป็นรายบุคคล. ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุรินทร์.

มิรินด้า บูรรุ่งโรจน, สรัญญา กฤษณานุวัตร, สุรัสวดี นราพงศ์เกษม และจิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล. (2560).

การศึกษาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนอ่าน-เขียนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาใน

โรงเรียนท้องถิ่นและโรงเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้. สำ นักงานกองทุนสนับสนุนการ

วิจัย.

รุ่งอรุณ โรจน์ และ รัตนาดำ รง ไชยศรี. (2561). การศึกษาปัญหาการเรียนอ่านเขียนนักเรียนไทยและ

นักเรียนต่างด้าวและการแก้ปัญหาด้วยแบบเรียนที่พัฒนาตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์.

https://dric.nrct.go.th/Search/index#top.

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2562). สรุปผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ของนักเรียนชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562. https://bet.obec.go.th/New2020/?p=2015.

สำ นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทยเพื่อบรรลุเป้าหมาย

การพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำ นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือการดำ เนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำ เร็จในการพัฒนา

คุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ 2561. โรงพิมพ์ตำ รวจ สำ นักงานตำ รวจ

แห่งชาติ.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น: ภาษาตระกูลไท. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร