โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 530 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องมือประเภทแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย 1) เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) ความคาดหวังในการศึกษาต่อ 4) การเอาใจใส่ของผู้ปกครอง 5) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 6) ประสิทธิภาพการสอนของครู 7) เจตคติต่อการเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย สรุปได้ว่า
- ผลการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัจจัยด้านครอบครัว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แยกเป็นความเอาใจใส่ของผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอยู่ในมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัจจัยด้านโรงเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แยกเป็นประสิทธิภาพการสอนของครูอยู่ในระดับมาก และเจตคติต่อการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัจจัยด้านนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แยกเป็นเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก และความคาดหวังในการศึกษาต่ออยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ตามสมมติฐาน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการทดสอบ ไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 53.97 ค่า df มีค่าเท่ากับ 27 ค่า RMSEA = 0.044 ค่า CFI มีค่าเท่ากับ 0.957 ค่า GFI มีค่าเท่ากับ 0.981 ค่า AGFI มีค่าเท่ากับ 0.955
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง
พุทธศักราช 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จารุโส สุดคีรี. (2552). หากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเด็กไทยต่ำลงไปเรื่อยๆ.
จิรัฏฐ์ สวัสดิพัชรกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึม
เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาอาชีวะเกษตร [วิทยานิพนธ์. ศษ.ด., เทคโนโลยี
การศึกษา]. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุฑาธิป วีระมโนกุล. (2559). การศึกษาเรื่องแรงจูงใจ สภาพแวดล้อมในการทำ งานที่ส่งผลต่อความ
ผูกพันต่อองค์กร: กรณีศึกษา บริษัท พี.วาย.ฟู้ดส์ จำ กัด. [คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย
กรุงเทพ]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำ หรับการวิจัย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
นวรัตน์ ศึกษากิจ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชกรรมของโรงเรียนอาชีวศึกษา [วิทยานิพนธ์. การบริหาร
การศึกษาและผู้นำ ทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยสยาม]. มหาวิทยาลัยสยาม.
เนตรชนก วงศ์สุเทพ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนศิลป์ (ภาษาจีน) ในโรงเรียนสังกัดสำ นักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 [วิทยานิพนธ์. วท.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา].
มหาวิทยาลัยบูรพา
พรศิริ บินนาราวี. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวใน
อำ เภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การจัดการท่องเที่ยว), มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์].
ภัศยารินทิ์ เลิศอภิสิทธิ. (2559). ความคาดหวังเกี่ยวกับสินค้า และความไว้วางใจในตราสินค้า ส่งผล
ต่อการตั้งใจซื้อสินค้าเฮาส์แบรนด์ ประเภทเบเกอร์รี่และเครื่องดื่ม ในเขตกรุงเทพมหานคร.
[ค้นคว้าอิสระ. บธ.ม. (บริหารธุรกิจ), คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มนทกานติ์ รอดคล้าย. (2561). อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรม
ของเด็กและเยาวชนไทย [วิทยานิพนธ์. ศศ.ด.วิทยาลัยประชากรศาสตร, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.]
วุฒิพงษ์ บุญสนอง. (2557). เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสงขลา ที่มีต่อวิชา
พลศึกษา [วิทยานิพนธ์. กศ.ม. (พลศึกษา), มหาวิทยาลัยทักษิณ]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิทยา วาโย. (2563). “การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน” [ออนไลน์]. วารสารศูนย์อนามัย
ที่ 9, 14(34), 287-290.
สิริพร อินทสนธิ์. (2563). “โควิด - 19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียน
โปรแกรมเว็บ”. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 207.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำ ให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ .
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed). Harper and Row.