วิถีชาวนาสู่การเปลี่ยนแปลงบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา เลาะดอนนอนนา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กิตติปกรณ์ อ้มเถื่อน
รสสุคนธ์ อ้มเถื่อน
ชมนาถ แปลงมาลย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของวิถีการทำนาของชาวนา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาพัฒนาการของเลาะดอนนอนนา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และ 3) ศึกษาแนวโน้มการพัฒนาเลาะดอนนอนนา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตการสนทนากลุ่ม การบันทึกข้อมูล และการนำข้อมูลที่ได้มาพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของการทำนาของชาวนา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำนา ซึ่งผลของการเปลี่ยนแปลงนอกจากจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ น้ำ พืช และสัตว์ที่เป็นอาหารของชาวนาไม่สามารถกินได้ นอกจากนั้นยาปราบศัตรูพืชยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้อีกด้วย 2) พัฒนาการของเลาะดอนนอนนาได้นำหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการ พัฒนากิจการโดยยึดหลัก “ธุรกิจบนฐานเกษตรกรรม” และต่อยอดกิจการให้เป็นแลนด์มาร์คสำคัญของอำเภอนาดูน ขยายพื้นที่เชิงธุรกิจเพิ่มเติม ได้แก่ ร้านอาหาร และร้านกาแฟ อีกทั้งยังเพิ่มโซนถ่ายภาพสำหรับนักท่องเที่ยว 3) แนวโน้มการพัฒนา จัดทำแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อให้มีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ จัดหาเครื่องอำนวยความสะดวก รักษามาตรฐานและคุณภาพด้านอาหาร เครื่องดื่ม ที่พัก และบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544).แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2557). รูปแบบและกระบวนการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. Veridian E-Journal, 7(3), 310-321.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2559). การบริหารจัดการลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. http://sdfthai.org/Download/CCA%20and%20agri culture.pdf

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืน: โครงการหลวงปางดะ. Suranaree Journal of Social Science, 9(1), 19-35.

วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย: บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 199-215.

ศรัญญา เกษร. (2551). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตชุมชนมอญ เกราะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำาแหง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556. กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลภาวการณ์ทำงานของประชากร เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561. กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร.

สุพัดชา โอทาศรี. (2556). การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย : กรณีศึกษาชาวนาไทย จังหวัดลพบุรี. วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(25), 34 – 43.

สุรพงษ์ คำสะอาด. (2561). เหมือนฟ้าแกล้ง! ฝนทิ้งช่วงกระทบชาวนาที่ อ.นาดูนแล้วกว่า 5 หมื่นไร่. https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/ 1355633.

อัสมา สิมารักษ์. (2551). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Singhapreecha, C. (2014). Economy and Agriculture in Thailand. http://ap.fftc. agnet.org/ap_db.php?id=246.