แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านสมรรถนะผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านสมรรถนะผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านสมรรถนะผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ จำนวน 302 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษา เชิงคุณภาพ จำนวน 11 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้รักษาการในตำแหน่ง ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านสมรรถนะผู้เรียน สัดกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง เกี่ยวกับแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านสมรรถนะผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.31) และผลจากการสัมภาษณ์สรุปได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรมีส่วนร่วมด้านการวางแผนและกำหนดเป้าหมาย ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุมระบบทรัพยากร และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ตรวจสอบ รายงาน
Article Details
References
กนกรัตน์ ทำจะดี. (2560). การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, มหาวิทยาลัยสยาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 .กรุงเทพฯ:บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทสยาม
สปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3).กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น .
พรรณี มนพัทธ์ปริพัตร. (2560). ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (2563). คู่มือการรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา คุณภาพของผู้เรียนด้านสรรถนะ. บุรีรัมย์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2.
อัญชิสา แก้ววิเศษ. (2561, กรกฎาคม – กันยายน). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(3) , 272-282.
Likert, Rensis. 1967. “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.