นาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของ ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของ ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติมีความมุ่งหมาย
1) เพื่อศึกษาพัฒนาการในด้านศิลปะการแสดงของฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ2) เพื่อศึกษา
นาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของฉวีวรรณ พันธุศิลปินแห่งชาติโดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูล
ภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ จำ นวน 7 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำ นวน 6 คน และ
ผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำ นวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสำรวจ
แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างแล้วนำ เสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนา
วิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า1) หมอลำ ฉวีวรรณ พันธุเกิดมาในตระกูลหมอลำและได้รับการฝึกหัดหมอลำ
ตั้งแต่เยาว์วัยจากศิลปินหมอลำ ชั้นครูของภาคอีสานหลายท่าน อาทิหมอลำ ชาลี ดำเนิน หมอลำ คำ ภา
ฤทธิทิศ หมอลำ บุญเพ็ง ไฝผิวชัย และหมอลำ คำ ปุ่น ฟุ้งสุข เป็นต้น ด้วยศิลปินผู้มีบุคลิกภาพสง่างาม
กระแสเสียงไพเราะ มีลูกคอละเอียดถึง 25 ชั้น มีทำ นองการลำ และลีลาวาดฟ้อนอันเป็นเอกลักษณ์
แบบฉบับของตนเอง เป็นผู้อนุรักษ์ท่าฟ้อนพื้นเมืองอีสานไว้ได้อย่างสมบูรณ์2) นาฏยลักษณ์การฟ้อน
อีสานของหมอลำ ฉวีวรรณ พันธุคือ“ก้มต่ำ รำ กว้าง ไม่หวงตัว” คำ นิยามอันเป็นหัวใจสำ คัญในการฟ้อน
อีสานที่ได้บัญญัติองค์รวมของการฟ้อนอีสานไว้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติท่าทางของการเซิ้งและ
การฟ้อนของอีสาน จากคำ นิยามของหมอลำ ฉวีวรรณ พันธุนำ มาสู่บทบาทที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นหมอลำ
ที่ “ฟ้อนงาม”อันเกิดจากกระบวนการความรู้ความสามารถด้านการฟ้อนอีสานอันเกิดจากประสบการณ์
ที่สั่งสมมาจนเชี่ยวชาญ เกิดเป็นทักษะและมีลักษณะเฉพาะตัวที่เด่นชัดของการใช้ร่างกายตั้งแต่
ศีรษะ มือ แขน ไหล่ ลำ ตัว และเท้า อันเป็นส่วนประกอบของลีลาท่าฟ้อนที่สะท้อนให้เห็นถึงสุนทรียะ
ความงามแบบท้องถิ่นอีสาน
Article Details
References
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2532). ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน. มหาสารคาม : สำนักวิทยาบริการมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ,
ยุทธศิลป์ จุฑาวิจิตร. (2539). การฟ้อนอีสาน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพมหานคร ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชันย์ เจริญแก่นทราย. (2554). กลวิธีการลำกลอน หมอลำฉวีวรรณ พันธุ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิรัตน์ ภู่แก้ว. (2550). การฟ้อนเกี้ยวของหมอลำกลอนวาดอุบลราชธานี. กรุงเทพ ; งานวิจัยศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย