นาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของ ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ

Main Article Content

สุธิวัฒน์ แจ่มใส
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ

บทคัดย่อ

                  การวิจัยเรื่องนาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของ ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติมีความมุ่งหมาย            1) เพื่อศึกษาพัฒนาการในด้านศิลปะการแสดงของฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ2) เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของฉวีวรรณ พันธุศิลปินแห่งชาติโดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ จำ นวน 7 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำ นวน 6 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำ นวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสำรวจแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างแล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์  ผลการวิจัยพบว่า
                 1) หมอลำ ฉวีวรรณ พันธุเกิดมาในตระกูลหมอลำและได้รับการฝึกหัดหมอลำตั้งแต่เยาว์วัยจากศิลปินหมอลำ ชั้นครูของภาคอีสานหลายท่าน อาทิหมอลำ ชาลี ดำเนิน หมอลำ คำภา ฤทธิทิศ หมอลำ บุญเพ็ง ไฝผิวชัย และหมอลำ คำ ปุ่น ฟุ้งสุข เป็นต้น ด้วยศิลปินผู้มีบุคลิกภาพสง่างามกระแสเสียงไพเราะ มีลูกคอละเอียดถึง 25 ชั้น มีทำ นองการลำ และลีลาวาดฟ้อนอันเป็นเอกลักษณ์แบบฉบับของตนเอง เป็นผู้อนุรักษ์ท่าฟ้อนพื้นเมืองอีสานไว้ได้อย่างสมบูรณ์   
                2) นาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของหมอลำ ฉวีวรรณ พันธุคือ“ก้มต่ำ รำ กว้าง ไม่หวงตัว” คำนิยามอันเป็นหัวใจสำ คัญในการฟ้อนอีสานที่ได้บัญญัติองค์รวมของการฟ้อนอีสานไว้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติท่าทางของการเซิ้งและการฟ้อนของอีสาน จากคำ นิยามของหมอลำ ฉวีวรรณ พันธุนำ        มาสู่บทบาทที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นหมอลำที่ “ฟ้อนงาม”      อันเกิดจากกระบวนการความรู้ความสามารถด้านการฟ้อนอีสานอันเกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาจนเชี่ยวชาญ เกิดเป็นทักษะและมีลักษณะเฉพาะตัวที่เด่นชัดของการใช้ร่างกายตั้งแต่ศีรษะ มือ แขน ไหล่ ลำ ตัว และเท้า อันเป็นส่วนประกอบของลีลาท่าฟ้อนที่สะท้อนให้เห็นถึงสุนทรียะความงามแบบท้องถิ่นอีสาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2532). ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน. มหาสารคาม : สำนักวิทยาบริการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุทธศิลป์ จุฑาวิจิตร. (2539). การฟ้อนอีสาน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพมหานคร ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชันย์ เจริญแก่นทราย. (2554). กลวิธีการลำกลอน หมอลำฉวีวรรณ พันธุ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิรัตน์ ภู่แก้ว. (2550). การฟ้อนเกี้ยวของหมอลำกลอนวาดอุบลราชธานี. กรุงเทพ ; งานวิจัยศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย