การพัฒนานโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นในบริบทของระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียนทางการเกษตร: กรณีศึกษา บ้านจำปา หมู่ที่ 10 ตำบลเชียงยืน อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธาน

Main Article Content

ชุติพงศ์ คงสันเทียะ
ณัฏฐานุช เมฆรา
สุทธิดา จันทร์ดวง

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อออกแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนทางการเกษตรระหว่างการทำ นาข้าวแบบปลอดภัยกับการเพาะเห็ดนางฟ้าและ(2) เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนทางการเกษตรของชุมชน กรณีศึกษาบ้านจำ ปา หมู่ที่ 10 ตำบลเชียงยืน  อำเภอเมืองอุดรธานีจังหวัดอุดรธานีเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนาหลายขั้นตอน ใช้วิธีการเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์และการสำรวจ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้กระบวนการวิเคราะห์SWOT and TOWS    ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างการทำ นาข้าวและการเพาะเห็ดนางฟ้าสามารถทำ ได้โดยการนำ กากเหลือมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่ ทำ ให้ลดรายจ่ายและเกิดการพึ่งพิงตนเองในชุมชน ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาแผนนโยบายสาธารณะออกเป็น 4ระยะ ได้แก่ (1) ระยะความเข้มเข็งของกลุ่มสัมมาชีพในชุมชน (2)ระยะการสร้างนวัตกรรมระบบหมุนเวียนทางการเกษตรในชุมชน(3) ระยะการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรภายนอกชุมชนอย่างบูรณาการและ (4) ระยะการขยายผลสู่ต้นแบบนวัตกรรมระบบหมุนเวียนทางการเกษตร ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการทดสอบประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนดังกล่าวกับเกษตรกรรายอื่นๆ และต่อยอดสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนทางการเกษตรแบบองค์รวมทั้งชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา กาเผือก และ สินธุ์สโรบล. (2554). การพัฒนานโยบายสาธารณะท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมด้านกิจกรรมทางกายสำ หรับผู้สูงอายุ: บทสังเคราะห์กระบวนการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

รายงานการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ ปี พ.ศ. 2554 “การพัฒนาอนาคตไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการประเทศที่ยั่งยืน”. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.429-434.

บริษัท เอสซีจีเคมิคอลส์จำ กัด. (2561). ทำ ไมต้องเศรษฐกิจหมุนเวียน.https://www.scg.com/sustainability /circular-economy/scg-circular-way/

พิรุฬห์ศิริทองคำ ,วิลาวัลย์บุญประกอบ, นาวิน พรมใจสาและรัชนีมิตกิตติ. (2561).รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับท้องถิ่น ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย.วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 11(3), 398-408.

เลิศลักษณ์เจริญสมบัติ. (2564). การประยุกต์ใช้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนกับวิสาหกิจชุมชน.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 145-155.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(3), 68-85.

สุจินต์สิมารักษ์และ สุเกสินีสุภธีระ. (2530). การประเมินชนบทสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน. โครงการวิจัยระบบการทำฟาร์ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Oksana, S. & Agnieszka, O., (2019). Green logistics and circular economy. TransportationResearch Procidia, 39, 471-479.

The Organizationfor the Economic Co-operationand Development. (2017). Measuring distance to the SDG target. The Organization for the Economic Co-operation and Development (OECD).