กลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงการบริภาษในเพลงลูกทุ่งอีสานร่วมสมัย

Main Article Content

กรรณิการ์ สุพิชญ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษากลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงการบริภาษในเพลงลูกทุ่งอีสานร่วมสมัย บทเพลงที่นำมาศึกษาเป็นบทเพลงลูกทุ่งอีสานในช่วง 2 ปี (ระหว่าง พ.ศ.2561-2562) ที่ปรากฏในเว็บไซต์ www.jook.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเพลงลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 80 เพลง ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีทางภาษาในการแสดงการบริภาษที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาเพลงลูกทุ่งอีสานสำคัญมี 6 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำศัพท์ การใช้อุปลักษณ์ การใช้แนวเทียบ การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การใช้คำถามวาทศิลป์ และการใช้ทำเนียบภาษา ทั้งนี้กลวิธีทางภาษาลักษณะต่าง ๆ ในบทเพลงแต่ละเพลงมักไม่ค่อยปรากฏอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่จะมีปรากฏร่วมอยู่กับกลวิธีอื่น ๆ เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกด้วย และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบจากการวิจัยในครั้งนี้ คือการใช้ถ้อยคำที่แสดงการบริภาษในเพลงลูกทุ่งอีสานส่วนใหญ่ไม่ได้สื่อหรือเน้นถึงความหยาบคายที่สะท้อนความรุนแรงเป็นหลัก แต่เนื้อหาของบทเพลงเหล่านี้ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องระบายความคับข้องใจต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องราวของความรักความผิดหวังด้วยการตำหนิ ประชดประชันและเสียดสี ทั้งนี้โดยธรรมชาติของการสร้างสรรค์บทเพลงซึ่งเป็นสื่อบันเทิง ก็มักจะเป็นการนำเอาถ้อยคำที่มีลีลาศิลปะทางภาษาและมีพลังไปใช้ในการสื่อสารด้วย ลักษณะเช่นนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของการใช้ภาษาในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานได้อย่างน่าสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2549). มองคัทลียาจ๊ะจ๋าจากมุมนักภาษา: เนื้อหาและกลวิธี. กรุงเทพฯ:

โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดียู ศรีนราวัฒน์ และชลธิชา บำรุงรักษ์ (บรรณาธิการ). (2558). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และนภาพร พิมพ์วรเมธากุล. (2545). พจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน (เว่าอีสาน).

ขอนแก่น: คลังนานาธรรม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.

กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.

กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิสันต์ สุขวิสุทธิ์. (2547). วัจนกรรมการบริภาษในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Charteris-Black, J. (2005). Politicians and Rhetoric: the Persuasive Power of Metaphor.

Great Britain: Palgrave Macmillan.

Forler, Roger. (1999). A Dictionary of Modern Critical Terms. London: Routledge.

Gillard, Partrick. (2003). Cambridge Advanced Learner’s Dictionary. United Kingdom:

Cambridge University Press.

Kovecses, Zoltan. (2005). Metaphor in Culture: Universality and Variation. Cambridge:

Cambridge University Press.

Van, Dijk. (2008). Discourse as Social Interaction: Discourse Studies. London: Sage Publication.