แนวทางการแปลคำศัพท์ทางการแพทย์จากภาษาจีนเป็นภาษาไทย

Main Article Content

ทิพย์สุดา ธีระเจตกูล
วริษา อัศวรัตน์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแปลคำศัพท์ทางการแพทย์จากภาษาจีนเป็นภาษาไทย เฉพาะในกรณีที่เป็นการแปลแบบเอาความ และเป็นคำที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรมของเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ โดยผู้วิจัยได้ลงมือแปลคำศัพท์ทางการแพทย์ในหมวดอาการของโรค โรคตามระบบ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ และยา โดยยึดหลักการแปล รวมถึงคำแปลและคำอธิบายจากในหนังสือการแพทย์ และพจนานุกรมเป็นหลัก และแยกกลวิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความหมายเป็นประเภทต่างๆ จากนั้นรวบรวมเฉพาะกลวิธีการแปลแบบเอาความมาวิเคราะห์ปัญหาที่พบในการลงมือแปล และเสนอแนวทางแก้ไข ผลการวิจัยพบว่าคำศัพท์ทางการแพทย์ที่มีกลวิธีการแปลแบบเอาความในหมวดต่างๆ มีจำนวนดังต่อไปนี้ หมวดอาการของโรคมี 8 คำ หมวดโรคตามระบบ 34 คำ หมวดกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 19 คำ  และหมวดยา 34 คำ รวมทั้งสิ้น 95 คำ จากการวิเคราะห์กระบวนการแปลคำศัพท์เหล่านี้พบว่ามีปัญหา 3 ด้านด้วยกันคือ 1. ปัญหาเรื่องโครงสร้างของศัพท์ทางการแพทย์ในภาษาต้นฉบับ 2. ปัญหาด้านการไม่ทราบคำศัพท์เฉพาะทางที่ใช้ในการแพทย์ 3.ปัญหาในการเลือกใช้คำในการแปล จากปัญหาที่พบผู้วิจัยเสนอแนวทางแก้ไขคือ 1. ปัญหาเรื่องโครงสร้างคำศัพท์ต้องทำการพิจารณาในเรื่องของความสัมพันธ์ของโครงสร้างศัพท์ว่าประกอบกันขึ้นด้วยลักษณะอย่างไร 2. ปัญหาการไม่เข้าใจคำศัพท์ที่ใช้ในทางการแพทย์ เมื่อแปลเสร็จแล้วต้องตรวจสอบกับพจนานุกรมและเอกสารที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับทางการแพทย์อีกรอบ 3. ปัญหาในการเลือกใช้คำในการแปล ต้องศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้างคำศัพท์และทำความเข้าใจความหมายของหน่วยคำหรือคำที่ประกอบกันเป็นคำศัพท์ทางการแพทย์นั้นๆ เพื่อเลือกใช้ความหมายที่ถูกต้องและเหมาะสมในวงการแพทย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Iamworamet, T. (2013). A new Chinese-Thai dictionary. Amon Printing.

Krasaesin. (2004). Medical language. Faculty of Liberal Arts Thammsat University.

Kunthamrong, R. (2009). Understandingandknowledgefor translation: from theories topractice.

Chulalongkorn University Printing House.

Numthong, K. (2020). Translation skill from Chinese to Thai. Chinese.

section department of Eastern Languages Faculty of Humanities Kasetsart University

Sukpanichnant, S. (2007). History and evolution of medical terminology. Department of

Pathology Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University.

Suwanakitti,T. (2008). Interpertation demand inThai health care service: A case study of three

private hospitals in Bangkok. Chalermprakiat Center ofTranslation and Interpretation

Faculty of Arts Chulalongkorn University.

Thantham, P. (1994). Suesan duai kanplae. Mayik.

Thiengburantham, T. (2018). Medical science dictionary. M.A.H Printing Company Limited.

Wang Xingyue, Yi Jiang,ZhangZhe. (2018). 《实用医学汉语》临床篇 Practical Medical Chinese.

外语教学与研究出版社.

Zhu Dejun, Fan Guodong. (2013).《实用医学汉语》(1) 基础篇 Practical Medical Chinese. 外语教

学与研究出版社.

Zhu Dejun, Fan Guodong. (2015).《实用医学汉语》(2) 基础篇 Practical Medical Chinese. 外语教

学与研究出版社.

Zhu Dejun, Fan Guodong. (2017).《实用医学汉语》(3) 基础篇 Practical Medical Chinese. 外语教

学与研究出版社.

Zhu Dejun, Fan Guodong. (2019).《实用医学汉语》(1) 基础篇 Practical Medical Chinese. 外语教

学与研究出版社.