การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ Economic Valuation of the Community Forest at Ban Mon Ngo, Muaeng Kai, Mae Taeng District, Chiang Mai

Main Article Content

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ 2) ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะและไม่ได้อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะแต่มีภูมิลําเนา ทํางาน หรือท่องเที่ยวในอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ โดยวิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า ( Contingent Valuation Method : CVM) คําถามเสนอราคาแบบปิดสองครั้ง ( Double Bounded Close-Ended) ราคาเริ่มต้นสําหรับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะ 3 ค่า คือ 20, 50 และ 110 บาทต่อปี กลุ่มตัวอย่างจํานวน 210 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ไม่ได้อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะแต่มีภูมิลําเนา ทํางาน หรือท่องเที่ยว ในอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 4 ค่า 50, 100, 250 และ 500 บาทต่อปี จํานวน 600 ตัวอย่าง โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิและแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์สถิติด้วยแบบจําลองสมการถดถอยที่ถูกเซนเซอร์ (Censored Regression Model) ผลจากการศึกษาพบว่า มูลค่าการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะเท่ากับ 3,649.10 บาทต่อครัวเรือนต่อปี รวมมูลค่าทั้งหมด 554,662.29 บาท ส่วนค่าเฉลี่ยของความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะของผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะเท่ากับ 71.11 บาทต่อคนต่อปี ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ คือ จํานวนสมาชิกในครัวเรือน, รายได้ครัวเรือน และระยะเวลาเข้าไปใช้ประโยชน์ ส่วนผู้ที่ไม่ได้อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะ แต่มีภูมิลําเนา ทํางาน หรือท่องเที่ยวในอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ค่าเฉลี่ยความเต็มใจจ่ายเท่ากับ 142.58 บาทต่อคนต่อปี ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ คือ อายุ ระดับรายได้ และระดับการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐดนัย สันธินันทน์. (2552). มูลค่าการใช้ประโยชน์และความเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียม กรณีศึกษาป่าประกิ่ง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิกร น้อยพรม และคณะ. (2562) ป่าชุมชนดงสามขา: มลูค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจบ้านน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14 (50), 1-12

นัฐศิพร แสงเยือน และคณะ. (2560). มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมพื้นที่ชายน้ำ เมืองอุทัยธานี. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(2), 7-16.

นันทนา บุณยานันต์. (2560). การประเมินมูลค่าของของป่าในพื้นที่ป่าชุมชนกรณี : ป่าชุมชนบ้านยางนาโทนและป่าชุมชนบ้านห้วยสามัคคี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้

พัฒน์นฤมล เดชขำ. (2560). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชุมชนกรณีศึกษาบ้านนา กอก อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิชญ์ศุภร วิสุทธิ. (2552). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรปะการัง หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่. (2563). สถิติจำนวนประชากรและบ้านรายอำเภอและรายเทศบาล. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://wwwnno.moph.go.th

สุนิดา พิริยะภาดา เเละอุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2561). มูลค่าความเต็มใจจะจ่ายของนักท่องเที่ยวเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ กรณีศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 12 (2), 81-102.

Mekonnen, A. (2000). Valuation of community forestry in Ethiopia: a contingent valuation study of rural households. Environment and Development Economics, 5(03), 289-308.

Taro Yamane. (1973). Statistic: Introduction Analysis and ed. Harper International Edition, Tokyo.