การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ 2) ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะและไม่ได้อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะแต่มีภูมิลําเนา ทํางาน หรือท่องเที่ยวในอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ โดยวิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า ( Contingent Valuation Method : CVM) คําถามเสนอราคาแบบปิดสองครั้ง ( Double Bounded Close-Ended) ราคาเริ่มต้นสําหรับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะ 3 ค่า คือ 20, 50 และ 110 บาทต่อปี กลุ่มตัวอย่างจํานวน 210 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ไม่ได้อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะแต่มีภูมิลําเนา ทํางาน หรือท่องเที่ยว ในอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 4 ค่า 50, 100, 250 และ 500 บาทต่อปี จํานวน 600 ตัวอย่าง โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิและแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์สถิติด้วยแบบจําลองสมการถดถอยที่ถูกเซนเซอร์ (Censored Regression Model) ผลจากการศึกษาพบว่า มูลค่าการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะเท่ากับ 3,649.10 บาทต่อครัวเรือนต่อปี รวมมูลค่าทั้งหมด 554,662.29 บาท ส่วนค่าเฉลี่ยของความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะของผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะเท่ากับ 71.11 บาทต่อคนต่อปี ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ คือ จํานวนสมาชิกในครัวเรือน, รายได้ครัวเรือน และระยะเวลาเข้าไปใช้ประโยชน์ ส่วนผู้ที่ไม่ได้อาศัยในหมู่บ้านม่อนเงาะ แต่มีภูมิลําเนา ทํางาน หรือท่องเที่ยวในอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ค่าเฉลี่ยความเต็มใจจ่ายเท่ากับ 142.58 บาทต่อคนต่อปี ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อกองทุนอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านม่อนเงาะ คือ อายุ ระดับรายได้ และระดับการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐดนัย สันธินันทน์. (2552). มูลค่าการใช้ประโยชน์และความเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียม กรณีศึกษาป่าประกิ่ง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิกร น้อยพรม และคณะ. (2562) ป่าชุมชนดงสามขา: มลูค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจบ้านน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14 (50), 1-12

นัฐศิพร แสงเยือน และคณะ. (2560). มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมพื้นที่ชายน้ำ เมืองอุทัยธานี. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(2), 7-16.

นันทนา บุณยานันต์. (2560). การประเมินมูลค่าของของป่าในพื้นที่ป่าชุมชนกรณี : ป่าชุมชนบ้านยางนาโทนและป่าชุมชนบ้านห้วยสามัคคี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้

พัฒน์นฤมล เดชขำ. (2560). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชุมชนกรณีศึกษาบ้านนา กอก อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิชญ์ศุภร วิสุทธิ. (2552). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรปะการัง หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่. (2563). สถิติจำนวนประชากรและบ้านรายอำเภอและรายเทศบาล. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://wwwnno.moph.go.th

สุนิดา พิริยะภาดา เเละอุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2561). มูลค่าความเต็มใจจะจ่ายของนักท่องเที่ยวเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ กรณีศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 12 (2), 81-102.

Mekonnen, A. (2000). Valuation of community forestry in Ethiopia: a contingent valuation study of rural households. Environment and Development Economics, 5(03), 289-308.

Taro Yamane. (1973). Statistic: Introduction Analysis and ed. Harper International Edition, Tokyo.