การทบทวนบทบาทและหน้าที่ของซออู้ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสายปี่ชวา วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงมโหรี

Main Article Content

ธนกร นามวงษ์
เทพิกา รอดสการ

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความเข้าใจเดิมเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของซออู้
ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสายปี่ชวา วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงมโหรี โดยรวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล
ขึ้นจากเอกสาร ตำราวิชาการ งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาที่มาและทบทวนบทบาทการเป็นตัวตลกของซออู้ รวมถึงค้นหาบทบาทและหน้าที่อื่น ๆ ของซออู้ผ่านบริบทด้านวงดนตรีไทยที่ซออู้นิยมประสมอยู่ในปัจจุบัน


            ผลจากการศึกษาพบว่าบทบาทการเป็นตัวตลกของซออู้ปรากฏครั้งแรกในหนังสือคำบรรยายวิชา
ดุริยางคศาสตร์ไทย โดยนายบุญธรรม ตราโมท ปีพ.ศ.2481 และเป็นหนังสือที่เป็นต้นแบบของตำราวิชาการ
ดนตรีไทยในยุคต่อมา จนกระทั่งบทบาทตัวตลกของซออู้ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่และบอกเล่าซ้ำ ๆ ส่งผลให้นักดนตรีนิยมแปรทำนองซออู้โดยการใช้เสียงที่ต่างกันมาเรียงร้อยเป็นทำนองซออู้คล้ายกับคนที่กระโดดขึ้นลงตลอดเวลา ภายหลังมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้อธิบายบทบาทและหน้าที่ของซออู้แตกต่างกันออกไปตามบริบทวงดนตรีที่ซออู้
ประสมอยู่ ได้แก่ บทบาทการสร้างทำนองสนุกสนานในวงเครื่องสาย บทบาทการช่วยเพิ่มเสียงให้หนักแน่น
ในวงเครื่องสายปี่ชวา บทบาทการเพิ่มเสียงที่นุ่มนวลและทำหน้าที่บรรเลงคลอร้องในวงปี่พาทย์ไม้นวม รวมทั้ง
ซออู้ยังทำหน้าที่บรรเลงเป็นเครื่องตามในวงดนตรีไทยทุกประเภท

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2556). องุ่น บัวเอี่ยม นักร้องเสียงระฆังทอง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ขำคม พรประสิทธิ์ และคณะ. (บ.ก.). (2561). รำลึกดูรยศิลปิน หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุริยะชีวิน). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะผู้ดำเนินงานโครงการดุริยางศิลป์ไทย รุ่นที่8. (2533). เครื่องสายไทยสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โครงการการเรียนการสอนเพื่อเสริมประสบการณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรณัส หินอ่อน. (2557). การประสมวงดนตรีไทย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นัทธพงศ์ สุกุมาลย์. (2549). ความสัมพันธ์ของกระสวนทำนองของเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวา: กรณีศึกษาเพลงเรื่องชมสมุทร. (ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธรรม ตราโมท. (2481). คำอธิบายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ศิลปสนองการพิมพ์.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2559). เครื่องสายปี่ชวา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชากร ศรีสาคร. (2564). ทำนองซออู้. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

ประเวช กุมุท. มปป. สัมภาษณ์ในรายการวิทยุ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์ธร ชุติมานันท์. (2551). บทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาไพสิทธิ์ สัตยาวุธ. (2542). บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท: ศึกษากรณีพระเทพสีมาภรณ์ กับการพัฒนาชนบทในจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์. (2561). ดนตรีไทยศึกษา: ว่าด้วยการปรับวง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.

________. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.

วรยศ ศุขสายชล. (2561). สัมภาษณ์. 10 มกราคม.

สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเมธ สุขสวัสดิ์. (2560). วิธีการบรรเลงซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมประกอบการแสดงของครูนิรมล ตระการผล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 4(1), 35-44.

อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Theodore Sarbin and Raph H. Jurnur. (1995). Role the Encyclopedia of social Science. New York: Gordon and Breach Science Publishers, 236 – 214.