การส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์เจงเวง

Main Article Content

สายันต์ บุญใบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบดนตรีพื้นบ้าน ทางเลือกที่เหมาะสมในการส่งเสริมและ
อนุรักษ์และประสิทธิผลการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์เจงเวง
กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 62 คน ได้แก่ ผู้วิจัย และผู้ร่วมวิจัยจำนวน 61 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 52 คน ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่
เครื่องดนตรี รูปแบบดนตรี และท่วงทำนอง ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 12 เดือน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบ
สัมภาษณ์แบบเป็นทางการแบบมีโครงสร้างระดับกลางจำนวน 2 ฉบับ แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึก การสนทนากลุ่ม และแบบ
สังเกต
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์เจงเวง
พบว่า รูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์เจงเวงควรมีองค์ประกอบของดนตรีที่
ครบถ้วนด้วยเสียงที่เกิดจากการสร้างสรรค์เสียงให้อยู่ในระเบียบของเสียง จังหวะ ทำนอง สีสันของเสียง พื้นผิวของเสียง และคีต
ลักษณ์ โดยการใช้เสียงที่หลากหลายทั้งการดีด สี ตี และเป่า เครื่องดนตรีที่ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบดนตรีในพิธีบวงสรวงควรเป็นดนตรี
พื้นบ้านมีแคน พิณ โปงลาง และโหวดเป็นหลัก
2. ทางเลือกที่เหมาะสมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์
เจงเวง ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศติดตาม และการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ
3. การศึกษาประสิทธิผลการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์
เจงเวง พบว่า รูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์เจงเวงมีระดับเสียงที่พอเหมาะ ใน
อัตราจังหวะปานกลาง มีความสม่ำเสมอเพื่อความสะดวกต่อการรำ ลักษณะของท่วงทำนองมีระดับเสียงที่ร้อยเรียงง่ายต่อการจดจำ ใน
ลีลาที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลินเพื่อเชิญชวนให้ผู้คนเข้าร่วมพิธีบวงสรวง รูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงบางช่วงของ
ท่วงทำนองมีเค้าโครงจากลายเดิมคือลายภูไท ซึ่งเป็นลายที่คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมในพิธีบวงสรวงมีความคุ้นเคย
คำสำคัญ: ดนตรีพื้นบ้าน พิธีบวงสรวงพระธาตุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/travel/ewt_news.php?nid=281&filename=index
กระทรวงวัฒนธรรม. วันที่ 29 ธันวาคม 2558.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
นิเวทย์บุญโยธา. (2550). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านฝาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ.
วิทยานพนธ์กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธวัชชัย อยู่พุก. (2554). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์โรงเรียนชานุมานวิทยาคมสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บรรลุ นนทะมาตย์. (2547). การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนกุดค้าวเทพพิทยา อำเภอกุฉินารายณ์จังหวัดกาฬสินธุ์.
วิทยานิพนธ์กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยพันธ์แสนทวีสุข. (2549). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน : คีตกวีอีสาน ตำนานเครื่องดนตรีและการเรียนดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม :
อภิชาติการพิมพ์.
พิภพ ปิ่นแก้ว. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านอีสานขั้นพื้นฐาน (Basic E-san Folk Music
Practice) (MS00232). อุดรธานี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วีกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารและพระธาตุนารายณ์เจงเวง. 9 กุมภาพันธ์ 2564.
วิทยา บุตรดาวงษ์. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิต โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สายันต์ บุญใบ. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง ดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุกิจ พลประถม. (2548). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. อุดรธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). กระบวนการทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
องอาจ นัยพัฒน์. (2551). การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพฯ : แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย