มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมการทิ้งเทของเสียทางทะเลจากเรือในประเทศไทย

Main Article Content

เดือนเด่น นาคสีหราช

บทคัดย่อ

 


บทคัดย่อ


 


การทิ้งเทนั้นเป็นกระบวนการกำจัดของเสียหรือสิ่งอื่นใดที่ไร้ประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อีกกระบวนการหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากแหล่งกำเนิดมลพิษบนบกลงสู่ทะเล การทิ้งเทยังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก หลายรัฐทั่วโลกใช้ทะเลเพื่อกำจัดขยะกฎหมายระหว่างประเทศจึงได้กำหนดพันธกรณีทั่วไปของรัฐเจ้าของธง รัฐชายฝั่ง และรัฐท่าเรือในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล นั่นคืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ซึ่งการทิ้งเทเป็นแหล่งก่อภาวะมลพิษอีกประการหนึ่งทางทะเล โดยมีพิธีสาร 1996 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเลจากการทิ้งเทของเสียและสสารอื่น ค.ศ. 1972 เป็นกฎหมายเฉพาะในเรื่องนี้ จากผลการวิจัยพบว่า ไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวนี้ก็ตามแต่ก็ยังไม่มีการอนุวัติการตามกฎหมายเฉพาะดังกล่าว ส่งผลให้มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับมาตรการของกฎหมายระหว่างประเทศในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเขตอำนาจการบังคับใช้กฎหมาย ความหมายของการทิ้งเท ซึ่งประเทศไทยควรบัญญัติกฎหมายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อให้การป้องกันและควบคุมการทิ้งเทของเสียทางทะเลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


 


คำสำคัญ: การทิ้งเท, การป้องกันและควบคุมมลพิษทางทะเล, อย่างยั่งยืน


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุมพต สายสุนทร. (2559). กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

เดือนเด่น นาคสีหราช. (2561). ภาวะมลพิษทางทะเลจากเรือ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

อำนาจ วงศ์บัณฑิต.(2557). กฎหมายสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

อำนาจ วงศ์บัณฑิต. (2562). กฎหมายสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

Berlingieri F. (2016). International Marine Convention.(Volume 3).

Elizabeth A. Kirk. (1997). “Protocol to the Dumping Convention and the Brent Spar,” International and Comparative Law Quarterly 46. Part 4.