การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

มะลิวรรณ สุรานิตย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus ที่ส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75       2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus ที่ส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม จำนวนนักเรียน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการเชิงวิเคราะห์ โดยเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน มีประสิทธิภาพค่าความยากง่ายระหว่าง 0.27 – 0.77 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 – 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.72 3) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.20 – 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที (t-test)


            ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


  1. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus ที่ส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.19/81.05 ที่เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75

  2. นักเรียนมีทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.06 และ S.D. = 0.82)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
เกียรติชัย ยานะรังสี. (2540). ผลการสอนแบบ KWL Plus ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความสามารถใน
การพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุฑามาศ เจริญธรรม. (2546). การอ่านเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เบญจวรรณ ขุนฤทธิ์. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียน
แบบคู่คิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และการสรุปความเข้าใจในการอ่าน. วรสารเทคโนโลยีภาคใต้. 12(2) : 88-92 ; 2562
พรทิพย์ แข่งขันและเฉลิมลาก ทองอาจ. (2535). การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนากระบวนการคิดใน
คู่มืออบรมภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาติ ชาวงษ์. (2560). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับการอ่านในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL
Plus. มทร.อีสาน : 5 ; มกราคม – มิถุนายน.
ภพ เลาหไพบลูย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
มิ่งขวัญ สุขสบาย. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL
Plus ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎ-มหาสารคาม.
สทศ. (2560). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน O – NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 .
28 มกราคม 2563.
สทศ. (2561). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน O – NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
28 มกราคม 2563.
สทศ.(2562). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน O – NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
28 มกราคม 2563.
Carr and ogle. (1987). KWL Plus A stara tegy for Comprehension and Smmarization.
journal of Reading : 636-631 ; 30 April 1987