หลักเกณฑ์ในการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในระบบบังคับบำบัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทยและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของบุคคลที่จะได้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (3) ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทยและต่างประเทศ (4) วิเคราะห์ปัญหาและข้อบกพร่อง เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูล
จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อ
หาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
จากการศึกษาพบว่า 1) พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มุ่งแก้ไขฟื้นฟู
ผู้เสพยาเสพติดมากกว่าการลงโทษ 2) การกำหนดหลักเกณฑ์ของบุคคลในการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติด ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มผู้เสพที่สมควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อีกทั้ง
ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งที่ผู้เสพจะได้รับโอกาสให้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ส่งผลให้ผู้เสพ
ยาเสพติดขาดความรู้สึกเกรงกลัวต่อกฎหมาย ผู้ศึกษาจึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ ในการเข้ารับ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาผู้ติดยาเสพติดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 สำหรับพนักงานคุมประพฤติ. กรุงเทพมหานคร : กองพัฒนาการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด.
วิษณุ คำโนนม่วง. (2558). “มาตรการทางกฎหมายในการบําบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด : ศึกษากรณีการนำระบบสมัครใจบำบัดมาใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด”. (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สหธน รัตนไพจิตร. (2527). “ความประสงค์ของการลงโทษอาญา: ศึกษาเฉพาะประเทศไทยสมัยใช้กฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญา”. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม. (2547). รูปแบบการบำบัดรักษายาเสพติด.กรุงเทพมหานคร.
อุทัย อาทิเวช. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยากับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา(Criminology Theory and Criminal Justice System). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ่นส่วนจำกัด วี. เจ.พริ้นติ้ง.
ธัชพงษ์ วงษ์เหรียญทอง. (2546). การบังคับใช้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 : ปัญหาข้อกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ.