การศึกษาเปรียบเทียบโทษทางอาญากับโทษทางปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบโทษทางอาญากับโทษทางปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล พ.ศ.2562 ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) จากการรวบรวมข้อมูลเอกสาร ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) เป็นกฎหมายกลางที่กำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอันมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือ General Data Protection Regulation (GDPR) ของสหภาพยุโรป เพื่อคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดในความเป็นส่วนตัวและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาผลประโยชน์หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอมและมีการลงโทษผู้กระทำผิดในทางกฎหมาย แม้จะมีบทกำหนดโทษทางอาญาและทางปกครองตามกฎหมายดังกล่าวแต่พบว่าแนวคิดและบทลงโทษมีความแตกต่างกัน จึงควรศึกษาเปรียบเทียบถึงการกำหนดโทษทางอาญาและทางปกครองเพื่อมาตรการลงโทษที่เหมาะสม เสริมสร้างการรักษาความมั่นคงของข้อมูลส่วนบุคลให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Article Details
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ (2551). กฎหมายอาญาภาค 1. พิมพค์ร้ังที่10 .กรุงเทพฯ: พลสยามพริ้นติ้ง.
ชาญชัย แสวงศักดิ์.(2555).คำอธิบายกฎหมายปกครอง. พิมพครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2522).หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ.(2547). การควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จากhttp://www.pub-net/publaw/view.aspx?id=241.256,10 พฤษภาคม 2563
โภคิณ พลกุล.เอกสารประกอบการบรรยาย “หลักกฎหมายปกครองไทย”.ในโอกาสการสัมมนาทางวิชาการเรื่องกฎหมายปกครองของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและของไทย สำนักงานศาลปกครอง เมื่อวันที่ 19-23 ส.ค.2545.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2540). หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
สมคิด เลิศไพฑูรย์, หลักความได้สัดส่วน ,วารสารนิติศาสตร์, 20, 4, (ธันวาคม 2533)
ภาษาต่างประเทศ
STROINK (F.),VAN DER LINDEN (E.),Judicial lawmaking and administrative law, (Antwerpen: Intersentia, 2005)