ความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดตรัง

Main Article Content

ปรารถนา หลีกภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง 2) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง จำนวน 390 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าที สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรังอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = .63) 2) นักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรังที่มีอายุ ผลการเรียนเฉลี่ย และเงินที่ได้รับต่อเดือนแตกต่างกันมีความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศวิทู ทิพยศ (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
เนชั่น. กรุงเทพฯ: มห่วิทยาลัยเนชั่น.
จิญาดา แก้วแทน (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์สมาร์ตโฟน
: กรณีศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพงศ์ กริยาผล (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานใน
กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทัศน์ทยา ธรรมวนิช (2561). ทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของสังคมไร้เงินสดของประชาชนจังหวัด
นครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มัลลิกา บุนนาค (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทยา ศรีพนา (2562). สถานการณ์สังคมไร้เงินสดของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
วิวัฒณ์ ขันธเขตต์ และสิงหะฉวีสุข (2562). การยอมรับระบบการชำระเงินอิเล้กทรอนิกส์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขต
ภาคกลาง ประเทศไทย. วารสารการบริหารและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 9(1), 153-164.
ศรีกัญญา ยาทิพย์ (2559). ชีวิตยุดใหม่ ไม่ต้องพกเงินสด. วารสารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ. กรกฎาคม,
10-16.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2560). ระบบชำระเงินดิจิทัล ตัวช่วย SME ทำเงิน. ข้อมูลจาก
https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/Digital-Payment_SME-Helper.aspx (สืบค้นวันที 10 กรกฎาคม 2564)
สมชาย เลิศวิเศษธีรกุล บดินทร์ รัศมีเทศ และกมลพรรณ แสงมหาชัย (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมเข้าสู่สังคม
ไร้เงินสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57 สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. หน้า 285-294. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุริพงษ์ ตันติยานนท์ (2562). วีซ่าเผยผลสำรวจเกือบ 9 ใน 10 ของผู้บริโภคชาวไทยทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบ
ดิจิทัล. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.engineeringtoday.net/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%8b%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99/
Hair, et al. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th edition. New Jersey: Pearson Prentice Hall.