การศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลสำหรับ การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม

Main Article Content

ฉารีฝ๊ะ หัดยี

บทคัดย่อ

แนวทางในการจัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเริ่มศึกษาจากสภาพ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรโดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของหลักสูตรการวัดและประเมินในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม (Online Multi-Platform Learning System) ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฎีของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษา และระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม ขั้นตอนที่ 2 สัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 12 ท่าน เพื่อหาข้อสรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้สอนและผู้เรียนในสถาบันอาชีวศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อความต้องการจำเป็นของหลักสูตรเพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม ผลการศึกษาพบว่าสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลของผู้ที่เกี่ยวข้อง เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D=0.45) โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดแยกตามประเด็นดังนี้ การวัดและประเมินผลมีความสำคัญกับผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร ( = 4.37, S.D = 0.62) การพัฒนาทักษะด้านการวัดและประเมินผลจะช่วยให้ผู้สอนเข้าใจและเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ( = 4.33, S.D=0.78) ผู้สอนมีวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ( =4.23, S.D=0.81) ตามลำดับ


จากการศึกษาสภาพความต้องการของผู้เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปดังนี้ 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินงานด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ที่ผ่านมา มีประเด็นที่เป็นปัญหาและอุปสรรค ทั้งความไม่ชัดเจนของเกณฑ์ที่เป็นลักษณะรูบิค รวมไปถึงการเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลแบบเดิม ๆ ที่ไม่สามารถวัดได้ตรงกับสภาพจริง 2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นต่อหลักสูตรการวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มสมรรถนะผู้สอนด้านการวัดผลและประเมินผล พบว่ามีความจำเป็นต้องกระตุ้นการทำงานภาคปฏิบัติของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 3) หลักสูตรการวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษา ควรจัดให้ผู้สอนสามารถเลือกใช้เครื่องมือการวัดและประเมินผลจากตัวอย่างที่มีหรือมีลักษณะใกล้เคียงกันกับรายวิชาที่สอนเพื่อให้สามารถปรับใช้ได้ง่าย เน้นการประเมินตามสภาพจริง สะดวก เข้าถึงง่ายและเข้าใจง่าย และวัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงสอดคล้องกับสมรรถนะของการวัดและประเมินผลด้านอาชีวศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย