นวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมของธุรกิจส่งออกแห่งประเทศไทย

Main Article Content

Usanee Au Promsriya

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการดำเนินงานในองค์กรที่ส่งเสริมนวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมของธุรกิจส่งออกดีเด่นแห่งประเทศไทย 2) ศึกษานวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมที่ส่งเสริมธุรกิจส่งออกดีเด่นแห่งประเทศไทย 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการดำเนินงานในองค์กรกับนวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมของธุรกิจส่งออกแห่งประเทศไทย 4) หาปัจจัยศักยภาพการดำเนินงานในองค์กรที่ส่งผลต่อนวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมของธุรกิจส่งออกแห่งประเทศไทย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารที่ได้รับรางวัลผู้ประกอบการส่งออกดีเด่น จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพการดำเนินงานในองค์กรที่ส่งเสริมนวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมของธุรกิจส่งออกดีเด่นแห่งประเทศไทยพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารให้ความสำคัญด้านการตลาด และด้านการเรียนรู้ 2) นวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมในองค์กรที่ส่งเสริมธุรกิจส่งออกดีเด่นแห่งประเทศไทย พบว่า คือ ด้านความรู้และความคิดสร้างสรรค์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการดำเนินงานในองค์กรกับนวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยมของธุรกิจส่งออกแห่งประเทศไทยมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสําคัญที่ 0.05 และ 4) ปัจจัยด้านองค์กร การผลิต การตลาด การวิจัยและพัฒนา และกลยุทธ์ ส่งผลต่อนวัตกรรมสินค้าและบริการยอดเยี่ยม ที่สัมประสิทธิ์ R Square มีดัชนีความเชื่อมั่น 0.863 มีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกนันท์ โพธิปัญญา. (2559). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ประเภทบริการ). ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอก
การบัญชี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กรมการค้าต่างประเทศ. (2558). ด้านการค้าต่างประเทศ. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563 จาก https://www.moc.go.th/index.php/moc-about/2015-10-19-03-39-24/2015-10-19-04-
25-36/item/42-6.html
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). รายชื่อผู้ได้รับรางวัล PM Award. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563 จาก https://www.pm-award.com/pma-directory/
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). ความสำคัญของนวัตกรรมต่อการดำเนินธุรกิจในยุค 4.0. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563 จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/marketing2/sm-
invovation4
คฑาวุฒิ สังฆมาศ, เกรียงไกร โพธิ์มณี, ปริยาภร เอี่ยมสำลี. (2560). นวัตกรรมสร้างสรรค์ทางธุรกิจเพื่อการส่งออกกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0. วารสารบัณฑิตศาส์น, 15 (2), 124-132.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พงศกร เอี่ยมสอาด, ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม, ประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมที่ใช้
แรงงานเข้มข้น กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14 (1), 129-141.
รติมา คชนันทน์. (2558). นวัตกรรม : ก้าวใหม่ SMEs สู่ธุรกิจยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563 จาก http://library2.parlia
ment.go.th/ejournal/content_af/2558/sep2558-2.pdf
วารุณี กุลรัตนาวิจิตรา. (2560). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ประเภทบริการ). ค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิไลวรรณ ศรีอักษร. (2556). นวัตกรรม..กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 8 (2), 100-102.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). โอกาสส่งออก SME ไทย ภายใต้โควิด-19. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563 จาก https://www.kasikornbank.com /SiteCollectionDocuments
/business/sme/knowledge/article/KSMEAnalysis/smeexport_SME/smeexport_SME.pdf
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). 4 ยุทธศาสตร์ผลักดัน ‘ไทย’ ให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรม. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564 จาก https://www.nia.or.th/NIA4
Drucker, Peter F. (1985). Innovation and entrepreneurship. New York: HarperCollins Publishers, Inc.
Higgins, James M. (1995). Innovate or Evaporate: Test & Improve Your Organization’s IQ – Its Innovation Quotient. New York: New Management Publishing
Company.
World Intellectual Property Organization. (2019). Global Innovation Index 2019. Retrieved 8 December 2020 from https://www.wipo.int/portal/en