แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา หมู่บ้านผ้าไหมบ้านธาตุน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พิมพิลา คงขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของหมู่บ้านผ้าไหมบ้านธาตุน้อย 2) ศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวหมู่บ้านผ้าไหม บ้านธาตุน้อย และ 3) สร้างแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านผ้าไหมบ้านธาตุน้อยสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้นำชุมชน องค์กรระดับชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น ธุรกิจภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว ใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบสโนว์บอลและแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลและการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตลักษณ์ของหมู่บ้านธาตุน้อยคือการทอผ้าไหมหมี่แต้ม ห่อหมกยอดเขือง แกงขี้เหล็กใส่ดักแด้ ขนมเทียนตาล ขนมตดหมา งานจักสานจากไม่ไผ่ การปลูกผักกุยช่ายขาว สมุนไพรพื้นบ้าน วัดบ้านธาตุน้อย และเส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยสำราญ 2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวมี 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการต้อนรับนักท่องเที่ยว 2) รูปแบบการนำชมฐานกิจกรรมในชุมชน และ 3) รูปแบบการส่งนักท่องเที่ยวเพื่อเดินทางกลับ 3. แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชนควรเชิญชวนสมาชิกในชุมชนให้เข้าร่วมในทุกรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว 2) วางแผนการจัดรายการอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวตามฤดูกาล และอนุรักษ์วัตถุดิบท้องถิ่น 3) จัดทำรายการฐานกิจกรรมการท่องเที่ยวและอัตราค่าบริการให้ชัดเจน และกำหนดผู้ประสานงานหลัก 4) เปิดให้บริการบ้านพัก   โฮมสเตย์ และขอรับการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ 5) สร้างข้อตกลงร่วมกันในการจัดการผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว และ 6) ชุมชนควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของหมู่บ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2559). คู่มือการดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : หจก ฉัตร (บิ๊ก ไอเดีย คัม ทู ไลฟ์).

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ณัฏฐินี ทองดี และคณะ (2560) การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันและกลไกการจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ชี มูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(ฉบับพิเศษ เดือนพฤษภาคม) : 58-74.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิฑูรย์ ทองฉิม. (2558). การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พีรชัย กุลชัย. (2557). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แบบโฮมสเตย์ จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อภิชัย ธรรมนิยม และ พิมพิลา คงขาว. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาเซียน กรณีศึกษา บ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 13(3), 108-117.

อรจนา แสนไชย จันทรประยูร และวัชรีวรรณ ศศิผลิน. (2555). รูปแบบการจัดการที่พักสัมผัสชีวิตชนบท (Homestay Management) ที่เหมาะสมสำหรับชุมชนบ้านหม้อ ตําบลป่าไผ่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.