การประเมินแบบเสริมพลัง: การประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลการเรียนรู้ สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ฟารีดา หีมอะด้ำ

บทคัดย่อ

การประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่มุ่งประเมินประกอบด้วย ความรู้ในสาระวิชาแกน คุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 วิธีการประเมินเป็นการประเมินตามสภาพจริง ใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายให้เหมาะสมกับสิ่งที่ประเมิน โดยประยุกต์ใช้กรอบการประเมินให้ตอบสนองทักษะในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 5 มิติ ได้แก่การเรียนรู้ ความเข้าใจ การสำรวจ การสร้างสรรค์ และการแบ่งปัน มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อสะท้อนระดับความสามารถ จุดอ่อน จุดแข็ง ของผู้เรียน รวมทั้งประสิทธิภาพการสอนของครู  เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา ซึ่งจุดอ่อนของครูที่พบประการหนึ่งคือความสามารถทางการประเมิน (Evaluation Capacity) ในบทความนี้จึงนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะทางการประเมินของครูด้วยวิธี 3 ขั้นตอน (Three steps  Approach) ของ Fetterman (2001) ซึ่งเป็นแนวทางที่นักการศึกษาให้การยอมรับและนำไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา วงศ์ก้อม. (2547). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการ

ประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช

วิทยานิพนธ์สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราภา แย้มแสง และคณะ. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับ

พฤติกรรมการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วนใน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้,

(2), 41-52.

บุญทวี อิ่มบุญตา. (2556). การพัฒนาระบบการประเมินในชั้นเรียนโดยประยุกต์แนวคิดการ

ประเมินเสริมพลังอำนาจ

บัญชา พร้อมดิษฐ์. (1 มิถุนายน 2556). การประเมินเสริมพลัง (Empowerment Evaluation) มุม

วิชาการด้านสาธารณสุขจุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 ก.ย.

, จาก https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book56_4/pbhealth.html

เบญจมาภรณ์ ฮั่วเจียม. (2559). การเสริมพลังเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชน. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 7(1), 19-25.

พิทักษ์ วงแหวน. (2562). การประเมินแบบเสริมพลังกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

สถานศึกษา วารสารสาระคาม, 11(1), 138-151.

พินดา วราสุนันท์. (2558). การสร้างความสามารถทางการประเมิน.วารสารวิจัยทางการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 10 (1), 214-228.

รัตนะ บัวสนธ์. (2547). การประเมินเสริมพลัง. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหา

วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, (31), 7-9.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2561). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร

วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(1), 1-10.

ศศิธร บัวทอง, 2560. การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัย

ศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1856-1867.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย. (2553). การประเมินแบบเสริมพลังในการเรียนการสอนแบบสตูดิโอทาง

สถาปัตยกรรม.SDU Research Journal, 7(2), 143-151.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (13 มีนาคม 2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 9

กันยายน 2563, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/66054/

สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2548). การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อ

พัฒนาทักษะการประเมินของครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2548). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2560). การประเมินแบบเสริมพลัง: แนวคิดและการประยุกต์ใช้.

วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 280-291.

Fetterman, D. M. (2001). Foundations of Empowerment Evaluation. California:

Sage Publication, Inc.