การศึกษาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

น้ำเพชร ชื่นแพ
ชิตพงษ์ ตรีมาศ
สยา ทันตะเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาการควบคุมชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้แบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์ 2. แบบทดสอบทางด้านชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3. แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีพื้นฐานการเรียนกีตาร์มาเป็นเวลา 3 เดือน จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านกีตาร์ไฟฟ้า จำนวน 7 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง พัฒนาเป็นแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จากนั้นนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาการควบคุมชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย 2) ผลของการทดลองใช้แบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์พบว่าผู้เรียนมีคะแนนจากแบบทดสอบหลังการใช้แบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.2 และคะแนนค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.46

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลธรรม เกื้อบุตร. (2554). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิคของกีรตินันท์ สดประเสริฐ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์, 3(1) :
165-183.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2543). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: พรรณีพริ้นติ้งเซนเตอร์.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2549). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์วุฒิ มหิธิธรรมธร. (2562). การศึกษาชุดการสอนกีตาร์ไฟฟ้าออนไลน์ที่สอนด้วยวิธีการสาธิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์
ทางการศึกษา. 14(2) : 1-10.
รัฐนิติ นิติอาภร และ วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559). ศึกษากระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของครูต่อผู้เรียนวัยผู้ใหญ่. วารสาร
ดนตรีรังสิต, 11(1) : 108-122.
วิภา อุดมฉันท์. (2544). การผลิตสื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2549). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องอาจ อินทนิเวศ. (2563). วิวัฒนาการของกีตาร์คลาสสิกและแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์คลาสสิกใน
ระดับอุดมศึกษา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการวิจัยและงานสร้างสรรค์, 7(1) : 107-121.
Bandura, A. (2016). Moral Disengagement. New York: Worth publishers.
Cavalier, D. (2012). Learn & Play Rock Guitar. Boston, Ma: First Act Inc.
Hallam, S. (1988). Instrumental Teaching: A Practical Guide to Better Teaching and Learning.
Oxford United Kingdom: Heinemann Education Publishers.
Herbst, P. J. (2018). Distortion and rock guitar harmony: The influence of distortion level and structural complexity
On acoustic features and perceived pleasantness of guitar chords. Music Perception, 36(4) : 335-352.
Juchniewicz, J., & Silverman, J. M. (2011). The influences of progression type and distortion on the perception of
Terminal power chords. Psychology of music, 41(1) : 119-130.
Lilja, E. (2005). Characteristics of heave metal chord structures. Their acoustic and modal
Construction, and relation to modal and tonal context. Licentiate Thesis. Univ. Helsinki.
Lazarov, L. (2018). Education in the 21st century-pedagogical approaches in digital environment. ‘E-Teacher’
Information System. Eastern Academic Journal, 2(2) : 13-25.
Mann, K. (2013). The Big book of Power Chords. Malvern: Guitar Alliance Inc.
Sravredes, T., & Herder, T. (2014). A Guide To Online Course Design: Strategies For Student
Success. San Francidco, CA: Jossey-Bass A Wiley Brand.