การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน สำหรับชมรมดนตรี โรงเรียนบ้านคำสมอ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน สำหรับชมรมดนตรีโรงเรียนบ้าน คำสมอ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะความสามารถในการปฏิบัติเมโลเดียน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน ที่พัฒนาขึ้นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชวงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านคำสมอ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ที่เป็นสมาชิกชมรมดนตรีจำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาทดลองทั้งสิ้น 10 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน มีจำนวน 5 ชุด แบบวัดทักษะความสามารถในการปฏิบัติเมโลเดียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะความสามารถในการปฏิบัติเครื่องดนตรีเมโลเดี้ยน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
- ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.30/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน มีพัฒนาการด้านความรู้ ความเข้าใจ ที่ดีขึ้น
- นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรีเมโลเดี้ยน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียนอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 โดยสรุปการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำไปใช้สอนผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน, ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอน
ระดับประถมศึกษาหน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 20). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2534). สาระดนตรีศึกษา: แนวคิดสู่แนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาวุฒิ ขุมทอง. (2560). การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ในรายวิชาเมโลเดียนเบื้องต้นของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนลุมพินีกรุงเทพมหานคร. รมยสาร, 15(2), 197-205.
ธนัณณ์ ขันทะยศ, สยาม จวงประโคน. (2562). การพัฒนาชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดาย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสำราญ จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 21(1), 245-254.
ธวัชชัย จิตวารินทร์. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการแปรรูปผลผลิต
ทางการเกษตรในท้องถิ่นหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาวิทยาลัยชุมชนพังงา. วารสาร
ปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, ฉบับพิเศษ(2560), 1-8.
พรวิไล จุลเสวก. (2550). การพัฒนาการเรียนรู้โน้ตดนตรีสากล โดยใช้ชุดฝึกทักษะเมโลเดียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้าน หนองขวาง. [ออนไลน์]. ได้จาก
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2921 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน
2563].
ภีระเมศร์ ประสิทธิเมธี มีช้าง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วงปี่พาทย์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร
มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วัชรเกียรติ ทรัพย์สินทวีกุล. (2561). ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนดนตรีสากล การฝึกหัด
ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี). [ออนไลน์].
ได้จาก http://202.44.68.33/node/229846 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563].
อรรถวัตร ทิพยเลิศ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการปฏิบัติกีตาร์ตามแนวคิด
ของเดวี่ส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย
ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์, อินทิรา รอบรู้. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนการเล่นกีตาร์ขั้นพื้นฐานสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพวิทยา. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 200-210.