การสำรวจความต้องการศึกษาต่อของเยาวชนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Main Article Content

สุทธิลักษณ์ สวรรยาวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อของเยาวชนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยเป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อตอบแบบสอบถามจำนวน 1,213 คน เพื่อสนทนากลุ่มย่อยจำนวน 45 คน เครื่องที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแนวคำถามเพื่อการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ สหสัมพันธ์ของไควสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


           เยาวชนเวียดนามมีความต้องการศึกษาต่อร้อยละ 64.60 ไม่ต้องการร้อยละ 11.50 และไม่แน่ใจร้อยละ 22.30 โดยประเทศที่ต้องการศึกษาต่อมากที่สุดคือเวียดนาม รองลงมาคือประเทศ เกาหลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ตามลำดับ และมีความต้องการศึกษาต่อในประเทศไทยร้อยละ 2.30 สาขาวิชาที่มีความต้องการศึกษาต่อในประเทศไทย 3 ลำดับแรกคือ สาขาการท่องเที่ยว/การโรงแรม สาขาบริหารธุรกิจ และสาขาเศรษฐศาสตร์ ส่วนการประกอบอาชีพที่ต้องการมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ การท่องเที่ยว  ทหาร/ตำรวจ  ธุรกิจ/ค้าขาย  เพศและอาชีพหลักของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกประเทศที่ต้องการศึกษาต่อ  และอาชีพหลักของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพ


              เยาวชนเวียดนาม มีความต้องการศึกษาต่อในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออก มากกว่าประเทศไทย แต่มีนักศึกษาเวียดนามบางส่วนเริ่มเรียนรู้ภาษาไทยมากขึ้น และมีกลุ่มคนที่มีการจัดหาเยาวชนเวียดนามเพื่อเข้ามาศึกษาต่อในประเทศไทยเป็นการเฉพาะ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในประเทศไทยคือ การมีงานทำหลังสำเร็จการศึกษา รองลงมาคือการมีหอพักและทุนการศึกษา

Article Details

บท
Articles

References

เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์. (2552). “ปฏิรูปการศึกษารอบ 2.” มติชนรายวัน. 2 มีนาคม 2552.

ขวัญนภา สุนคร. (2551). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ศูนย์ลำปาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

บุญคง หันจางสิทธิ์. (2540). เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ : ประชากร แรงงาน การศึกษา ฝึกอบรม

ศาสนธรรม จริยธรรม สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้ง เฮาส์.

บุญพุ่ม เสนารักษ์. (2531). หลักเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: วี.เจพริ้นติ้ง.

ปฐม นิคมานนท์. (2528). การศึกษานอกระบบโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: ทิพย์อักษร.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์และคณะ. (2543). “การศึกษาความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของ

นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดบุรีรัมย์.” บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปิยรัตน์ รื่นภาคพจน์. (2538). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนช้ัน

มัธยมศึกษาปีที่3ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

พจน์ สะเพียรชัย. (2526). การศึกษากับการพัฒนาเยาวชน. วารสารการศึกษาแห่งชาติ. 17(2), 7-35.

อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2543). การเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด. วารสารการศึกษานอกโรงเรียน.

Brown, Mark G. Baldrige. (2004). Award Winning Quality. 13th ed. University Park, IL :

Productivity Press

Boshier, R. (1971). Motivational orientations of adult education participant

A factor analytic exploration of Houle's typology. Adult Education Journal,

(27) 2, 3-26. Gelatt (1989)

Coombs, Phillip H. Attacking Rural Poverty : How Nonformal Education Can Help.

Knowles, Malcolm S. (1980). The Modern Practice of Adult Education : From Pedagogy to Andragogy.

New York: Cambridge, The Adult Education Company.

McMahon , Wendy. (2013). [online]. The Flipped Classroom 101. [cited 10 May .2017].Available

From : URL : http://www.downloads01.smartech.com/media/sitecore/en/

pdf/smart_publication/ed compass.pdf

Morstain, B. R., & Smart, J. C. (1974). Reasons for participation in adult education courses: A multivariate analysis of group differences. Adult Education Journal of Research and Theory, (24)2, 83-98.

Shammot, M.M. (2011). Factors affiecting the Jordanian student’s selection decision among privtc universities. Journal of Business Studies Quarterly, 2(3), 57 – 63.