Factors Affecting the Dynamic Ca ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถเชิงพลวัตขององค์การ กรณีศึกษา เทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นิสรา ใจซื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาถึงความสามารถเชิงพลวัตขององค์การ คือ เทศบาล
เมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถเชิงพลวัตของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ และ 3) ศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาความสามารถเชิงพลวัตของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ในการศึกษาวิจัยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed-Method Research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่สังกัดในเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จำนวน 201 คน โดยใช้แบบสอบถามกับบุคลากรที่สังกัดในเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ได้รับตอบกลับมาทั้งสิ้น 138 คน
และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับผู้บริหารและบุคลากรของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ


       ผลการวิจัยพบว่า


  • ความสามารถเชิงพลวัตของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ

มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดลงไป คือ ความสามารถด้านการบริหารเครือข่ายขององค์การ ความสามารถด้านการดูดซับขององค์การ ความสามารถด้านการรับรู้ขององค์การความสามารถด้านการบริหารทรัพยากรขององค์การ ความสามารถด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ขององค์การ ความสามารถด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ ความสามารถด้านการบริหารความเสี่ยงขององค์การ และความสามารถด้านการบริหารนวัตกรรมขององค์การ ตามลำดับ


    2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถเชิงพลวัตของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ปัจจัย
การบริหารองค์การ 5 ด้าน คือ ด้านความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ด้านระบบการปฏิบัติงาน
ด้านภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และด้านทักษะของบุคลากร
ในองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05


   3) แนวทางการพัฒนาความสามารถเชิงพลวัตของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี ได้แก่
การบริหารความสามารถด้านการบริหารทรัพยากรขององค์การ โดยจัดสรรบุคลากรในการทำงาน
ในส่วนงานต่างๆ เพื่อการปฏิบัติงานขององค์การ การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การ และการนำข้อมูลด้านสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการทำงานด้านต่างๆ ด้านการพัฒนานวัตกรรมประเมินผลและติดตามผลการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐญา ผลยาม. (2556). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานีตำรวจภูธร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บวรนันท์ ทองกัลยา. (2559). การศึกษาระดับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเป็นองค์กร

ที่มีสมรรถภาพสูง กรณีศึกษา บริษัทในธุรกิจอ้อยและน้ำตาลประเทศไทย, สปป.ลาว และจีน

ของกลุ่มน้ำตาลมิตรผล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ:

สุวีริยาสาส์น.

ผลิน ภู่จรูญ. (2555). การจัดการธุรกิจร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: บริษัท เอกพิมพ์ไท จำกัด.

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ. (2561). วารสารประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ รายงานกิจการประจำปี

ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ. (ม.ป.ป.). คู่มือในการบริหารงาน คู่มือสำหรับประชาชนของเทศบาล

เมืองบึงยี่โถ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับเทศบาล. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2563, จาก

https://www.buengyitho.go.th/about

ธัญญารัตน์ กล่อมจิตร. (2558). การบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขต

อำเภอสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบุรี:

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ธัญญารัตน์ สหศักดิ์กุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ

ภาครัฐ กรณีศึกษา กรมเจ้าท่า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สมชนก (คุ้มพันธุ์) ภาสกรจรัส. (2561). หลักการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

สุชน ทิพย์ทิพากร. (2560). ความสามารถในการจัดการความสลับซับซ้อนของวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2560). หลักการบริหารธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง

จำกัด.

อธิวัฒน์ เขตพิบูลชัย. (2560). ผลของความสามารถเชิงพลวัตต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน

อย่างยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Teece David J. (2009). Dynamic Capabilities and Strategic Management. New York: Oxford

University Press Inc.