การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สยาม จวงประโคน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาดนตรีระดับประถมศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลาก จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรี แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ดัชนีประสิทธิภาพ E1/ E2 และ ค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.55/82.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 33.96 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซมีค่าเฉลี่ยหลังทดลองรวม ด้านเคลื่อนไหวร่างกายตามการเคลื่อนที่ของทำนองได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.68, รองลงมาด้าน อ่าน-เขียนโน้ตดนตรี ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.18 เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 59.09 และ ขับร้อง ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 58.86 โดยมีค่าร้อยละเฉลี่ยรวมของคะแนนเต็มเท่ากับ 69.25

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2536). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน, ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการ
สอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: ฝ่ายการพิมพ์ มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ณภัทร เฟื่องฟู, โดม สว่างอารมณ์, พิมลมาศ พร้อมสุขกุล, และวรสรณ์ เนตรทิพย์. (2561). ความต้องการ
ของนักเรียนและครูต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาดนตรี กลุ่มสาระศิลปะ ระดับชั้นประถม
ศึกษาตอนปลาย สังกัดกรุงเทพมหานครเขตภาษีเจริญ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 25-39.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ดวงรัตน์ วุฒิปัญญารัตนกุล. (2555). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีและเคลื่อนไหวตามแนวคิดดาลโครซ
ที่มีผลต่อความสามารถทางสติปัญญาของเด็กอนุบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย นาควงษ์. (2543). การสอนดนตรีสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ธนัณณ์ ขันทะยศ, สยาม จวงประโคน. (2562). การพัฒนาชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดาย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสำราญ จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 21(1) : 245 – 254.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของ
โคดาย. สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 68-79.
พิชชาพร สมหวัง, สยาม จวงประโคน. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากล ตามทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(2) :
89 – 97.
สิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2558). แนวคิดทฤษฏีการสอนดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 21-31.