การเตรียมความพร้อมของศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ

Main Article Content

มานิตย์ บุบผาสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการเตรียมความพร้อมในการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อมใน 5 ด้าน คือ 1) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 2) ด้านห้องออกกำลังกาย 3) ด้านการให้บริการ 4) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และ 5) ด้านความปลอดภัยและมาตรการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ตามข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2557 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ลูกค้าที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 12 คน กลุ่มที่ 2 บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 12 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม มีความเห็นตรงกันในด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านห้องออกกำลังกาย และด้านความปลอดภัยและมาตรการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยให้ความสำคัญในด้านความสะดวกและความปลอดภัยมากที่สุด เช่น ปรับพื้นที่เพื่อป้องกันการลื่นล้ม การป้องกันอุบัติเหตุขณะออกกำลังกาย การจัดพื้นที่ออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และการมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่พร้อมใช้งาน ส่วนในด้านการให้บริการนั้น ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มลูกค้าให้ความสำคัญกับกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่สร้างความสนุกสนาน มีความหลากหลาย ได้เข้าสังคม และสนใจกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ ในขณะที่ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มบุคลากรให้ความสำคัญกับการจัดรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ทั้งในด้านสมรรถภาพของร่างกายและโรคประจำตัว การให้คำแนะนำการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของผู้สูงอายุ ในด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มลูกค้า ให้ความสำคัญด้านการมีจิตใจรักบริการ (service mind) การได้รับการดูแล เอาใจใส่และคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรผู้ให้บริการ ส่วนผู้ให้ข้อมูลกลุ่มบุคลากร มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). แนะผู้สูงวัยไทยเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เน้นดูแลร่างกาย จิตใจ
และสังคม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://gnews.apps.go.th/news?news=53662
กรมอนามัย. (2557). คู่มือข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฉบับที่ 1. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จรรเพ็ญ ภัทรเดช. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่าย
วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(2) : 17-38
จินตนา สุวิทวัส. (2552). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตน. วารสารพยาบาล
ศาสตร์และสุขภาพ. 32(4) : 84-92.
ชลธิชา จันทคีรี. (2559). การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง. วารสารคณะพยาบาล
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 4(2) : 1-13.
นิพพาภัทร์ สินทรัพย์, จิณวัตร จันครา และ บุปผา ใจมั่น. (2562). กิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการมีอายุ
ที่ยืนยาว.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 25(2) : 229-246.
บรรลุ ศิริพานิช. (2553). คู่มือผู้สูงอายุ ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน
ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2556). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. ในประเสริฐ อัสสันตชัย (บรรณาธิการ). ปัญหา
สุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน(พิมพ์ครั้งที่4). (หน้า 399-424).กรุงเทพฯ : ยูเนี่ยนครีเอชั่น
พิมผกา ปัญโญใหญ่. (2555). การออกกำลังกายแบบแอโรบิคสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์และ
สุขภาพ. 35(2) : 140-148.
ยุพิน หมื่นทิพย์, มนันชญา จิตตรัตน์ และ วิลาสินี แผ้วชนะ. (2562) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายใน้น้ำต่อ
สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(8) : 3887-3900.
วรัญญา เรืองรุ่งรัตนกุล. (2558). สถานออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ GeRon Fitness Club. (การค้นคว้าอิสระ
ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต)กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะพยาบาล
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริมา เขมะเพชร. (2559). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 8(2) : 201-211.
ศิริรัตน์ ปานอุทัย, ดวงฤดี ลาศุขะ และกนกพร สุคำวัง. (2551). การปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
โรคเรื้อรังในเขตภาคเหนือของประเทศไทย[รายงานการวิจัย]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ ศิริบุญ และ ชเนตตี มิลินทางกูร. (2546). ภาวะเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและครอบครัว
ในประเทศไทย : รายงานเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวลาภ สุขไพบูลย์วัฒน์. (2560). บทบาทของผู้สูงอายุต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย. วารสาร
ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(17) : 176-191.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ออกกำลังกายฮิต ปลุกกระแสธุรกิจรักสุขภาพ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/Fitness_BT.aspx
อรรณพ นับถือตรง และดิศพล บุปผาชาติ. (2562). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุยุค 4.0. วารสาร
วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2(1) : 78-90.
เอกศักดิ์ เฮงสุโข. (2557). ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. SDU
Res. J.10(3) : 129-142
World Health Organization. (2553). Global recommendations on physical activity for health.
(online). Retrieved from: http://www.who.int/dietphysicalactivity/factsheet_recommendations/en/