การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในบริบทการเรียนของชาวไทยผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

ทูน่า เกอร์กิน

บทคัดย่อ

รูปแบบการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนภาษา ดังนั้นผุ้สอนภาษาอังกฤษควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนที่ผู้เรียนของตนเองพึงพอใจ เพื่อจะได้ใช้ข้อมูลในการเตรียมแผนการสอนและเทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนตนเอง งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ที่พึงพอใจเป็นเครื่องมือวิจัยในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่สองของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ ข้อมูลที่ได้การเก็บแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการเรียนรู้โดยการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นรูปแบบที่นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยพึงพอใจมากที่สุด (x̄=4.27)  รองลงมาคือ รูปแบบการเรียนรู้โดยการฟัง รูปแบบการเรียนรู้โดยการปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ รูปแบบการเรียนรู้โดยการใช้สายตา และรูปแบบการเรียนรู้โดยการกระทำตามลำดับ ส่วนรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นรูปแบบที่กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจน้อยที่สุด (x̄=2.37) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ด้วยวิธีการแตกต่างกัน ดังนั้นผู้สอนภาษาอังกฤษควรมีการเตรียมวิธีการสอนที่หลากหลายและควรสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้กลวิธีการเรียนที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเรียน ข้อเสนอแนะประการสุดท้ายจากการวิจัยในครั้งนี้คือ ครูภาษาอังกฤษควรศึกษารูปแบบการเรียนรู้ที่พึงพอใจของผู้เรียนตนเองตั้งแต่ครั้งแรกที่สอน เพื่อจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนเองพึงพอใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Christison, M.A. (2003). Learning styles and strategies, In D. Nunan (Ed.), Practical English
language teaching (p.270). Singapore: McGraw-Hill.
Ellis, A. (1985). Expanding the ABC's of RET. In M. J. Mahoney & A. Freeman (Eds.), Cognition and
psychotherapy (pp. 313–323). New York: Plenum.
Harmer, J. (2011). The Practice of English Language Teaching. Harlow: Pearson Longman.
Honey, P and Mumford, A. (1992). The manual of learning styles. Maidenhead: Peter Honey.
Reid, M. J. (1987). Perceptual learning style preference questionnaire.
Kachru, B. B. (1985) Standards, codification and sociolinguistic realism: the English
language in the outer circle. In R. Quirk and H.G. Widdowson (Eds), English in the world: Teaching and learning the language and literatures (pp. 11-30). Cambridge: Cambridge University Press.
Keefe, J. W. (1987). Learning Styles: Theory and practice. Reston, VA: National Association of
Secondary School Principals.
Kirkpatrick, R. & Young, D. (2014). Roads to nowhere: the effects of culture on Thai learners of
English. Asian Journal of English Language Teaching. 24. 161-170.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as a source of learning and development,
Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Raymond, C.L., & Choon, T.T. (2017). Understanding Asian Students Learning Styles, Cultural
Influence and Learning Strategies. Journal Of Education & Social Policy. 7(1). 195-210.
Shaw, G., & Marlow, N. (1999). The Role of Student Learning Styles, Gender, Attitudes and
Perceptions on Information and Communication Technology Assisted Learning. Computers & Education, 33(4), 223-234.
Tasanameelarp, A. & Girgin, T. (2020). The use of role-play activities to reduce Thai EFL learners’
speaking anxiety. UDRU Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1).
Thongprasert, N. & Burn, J. (2003). Identifying strategies for effective virtual education delivery in
Thailand, Retrieved from http://aisel.aisnet.org/pacis2003/23
Tipmontree, S. & Tasanameelarp, A. (2018). The Effects of Role-Playing Simulation Activities on the
Improvement of EFL Students' Business English Oral Communication. The Journal of Asia TEFL. 15(3), 735-749.