The การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ

Main Article Content

PIYALUK POTIWAN

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดมหาสารคาม 2)  เพื่อถอดอัตลักษณ์


ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมหาสารคามเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งใหม่ภายใต้ขอบเขตของอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม  สู่การตีความ ให้ความหมาย เพื่อนำมาสู่การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนความเป็นท้องถิ่น   กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย           กลุ่มผู้ผลิตของที่ระลึกในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 50 คน กลุ่มผู้บริโภค คือ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศ รวมทั้งคนในชุมชนทั่วไป จำนวน 100 คน และ นักวิชาการด้านศิลปะวัฒนธรรม จำนวน 2 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล


            ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดมหาสารคามนั้นสามารถวิเคราะห์อัตลักษณ์ได้จากคำขวัญของจังหวัดมหาสารคาม  ซึ่งสามารถถอดอัตลักษณ์ คือ พระธาตุนาดูนที่เป็นสัญลักษณ์ของพุทธมณฑลอีสาน ผ้าไหม ที่เป็นตัวแทนของจังหวัดคือลายสร้อยดอกหมาก และตักสิลานคร อันหมายถึงดินแดนแห่งการศึกษา ซึ่งนำมาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบสามผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วย 1) ผลิตภัณฑ์พวงกุญแจ 2) ผลิตภัณฑ์กระเป๋า และ 3) ผลิตภัณฑ์เสื้อ โดยมีแนวทางส่งเสริมผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมหาสารคามเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ คือ การสนับสนุนเงินทุนและงบประมาณในการลงทุน การส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสของการกู้เงิน และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตและผลักดันให้สินค้ามีรูปแบบที่หลากหลาย ตรงตามความต้องการของลูกค้า ได้รับมาตรฐานการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิทัศน์ คณะวรรณ. (2545). การตลาด 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ดีไซน์.
พรสวรรค์ พรสุโขวงค์. (2548). การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัย มข. 10(4): 348-358.
พันธุ์ทิพย์ รามสูตร. (2540) . “แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรม” ภาควิชาสุขศึกษา
และพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพ็ญศรี เจริญวานิช และคณะ. (2548). การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัย มข. 10(4) : 348-358.
วรพงศ์ วรชาติอุดมพงษ์. (2538). บทความรู้ในการออกแบบพาณิชย์ศิลป์ ออกแบบกราฟฟิก.
กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาส์น.
สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวและความเชื่อมั่น
ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว 2563. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563 จาก
http://www.thailandtourismcouncil.org
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย . (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (2560-2564).
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึก.