ความรู้บัณฑิตที่พึงประสงค์ในมุมมองของครูผู้สอนในสถาบันอาชีวศึกษา

Main Article Content

จงศิลป์ สุขุมจริยพงศ์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0 แรงงานระดับอาชีวศึกษาเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการพัฒนา โดยมีครูช่างอุตสาหกรรมเป็นส่วนสนับสนุนการผลิตแรงงานกลุ่มดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้บัณฑิตพึงประสงค์ของโครงสร้างหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมโยธา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) ในมุมมองของครูผู้สอนในสถาบันอาชีวศึกษา การดำเนินงานวิจัยตั้งบนทฤษฎีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และนำเสนอผลการศึกษาในรูปลำดับความสำคัญและน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยในโครงสร้างหลักสูตร ผลการศึกษาเผยให้เห็นว่าครูผู้สอนต้องการให้บัณฑิตมีความรู้ด้านวิชาชีพสูงกว่าด้านอื่น ความรู้ด้านวิชาชีพในโครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วยกลุ่มวิชาชีพครูและกลุ่มวิชาเฉพาะสาขา และครูผู้สอนประเมินว่ากลุ่มวิชาเฉพาะสาขาซึ่งประกอบด้วยรายวิชาด้านวิศวกรรมมีลำดับความสำคัญมากกว่ากลุ่มวิชาชีพครู อย่างไรก็ตามบัณฑิตควรมีความรู้ในทุกด้านตามที่หลักสูตรกำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขา ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (20 สิงหาคม 2563) : ได้มาจาก : http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/data6/Bachelor%20of%20Industrial%20Education-4Y-2562_m1.pdf
ครูพันธ์ใหม่. (2561). สกอ. ออกแถลงการณ์ หลักสูตรครู 4 ปี ไม่ทัน TCAS รอบแรก. (20 สิงหาคม 2563) : ได้มาจาก : www.krupunmai.com/4227/
เจษฎาภรณ์ สมีพันธ์, บุญชม ศรีสะอาด, นุชวา เหลืองอังกูร. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 21(1) : 66-82
ญาดา ชวาลกุล, นภกมล ชะนะ, ลัทธพร จันทองหลาง. (2561). ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของมหาบัณฑิต หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทาลัยนเรศวร. 9(1) : 168-176
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2560). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).
ปาริฉัตร จันโทริ. (2555). การศึกษาระบบทวิภาคี ทางออกของแรงงานไทย. วารสารบริหารธุรกิจ. 35(135) : 29-39
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล, ธันวดี ดอนวิเศษ. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สู่ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 10(4) : 137-147
วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2557). AHP การตัดสินใจชั้นสูงเพื่อความก้าวหน้าขององค์กรและความอยู่ดีมีสุขของ มหาชน. กรุงเทพ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ช่วงปี 2560 - 2564. กรุงเทพ : สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ : 88-100
สุภลักษณ์ สีสุกอง. (2552). การพัฒนาแบบจำลองการตัดสินใจในการเลือกกลุ่มวิชา สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศ). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Matthew J. Liberatore, Robert L. Nydick. (1997). Group Decision Making in Higher Education Using the Analytic Hierarchy Process. Research in Higher Education. 38(5) : 593-614
Thomas L. Saaty. (1980). The Analytic Hierarchy Process. McGraw-Hill.