การ การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร ทัศนคติต่อการขับขี่ อย่างปลอดภัย พฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจร และพฤติกรรมเลี่ยงความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดกฎจราจรของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

ศรันยา ฉัตรเดชา

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร ทัศนคติต่อการขับขี่อย่างปลอดภัย พฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจร และพฤติกรรมเลี่ยงความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดกฎจราจรของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีระดับปริญญาตรีที่มีเพศ ใบอนุญาตขับขี่ และประวัติ
การประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่แตกต่างกัน จำนวน 720 คน โดยใช้แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร แบบสอบถามทัศนคติต่อการขับขี่อย่างปลอดภัย และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรและพฤติกรรมเลี่ยงความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดกฎจราจร


            ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาหญิงมีพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรมากกว่านักศึกษาชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่นักศึกษาเพศชายมีพฤติกรรมเลี่ยงความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดมากกว่านักศึกษาหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาที่มีใบอนุญาตขับขี่
มีพฤติกรรมการขับขี่ตามกฎจราจร และความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรมากกว่านักศึกษาที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษาที่ไม่ได้รับการบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุมีพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรน้อยกว่านักศึกษาที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นข้อมูลสำคัญต่อการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมการเป็นต้นแบบพลเมืองด้านการขับขี่ของนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ซูใบดะห์ หะยีมะ, แมกือลือสง มากะ, รอเย๊าะ เจ๊ะนุ๊. (2552). ทัศนคติของนักศึกษาเทคนิคนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ต่อนโยบายขับขี่ปลอดภัย

เปิดไฟใส่หมวกขณะขับขี่รถจักรยานยนต์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 1(3) : 118-129.

บัณฑิต ตั้งกมลศรี. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ: วิเคราะห์กลุ่มพหุ.

(ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ระยอง : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปวีณา คำพุกกะ, อุไรรัตน์ ยามรัมย์, สุชาดา ชมชื่น. (2555). พฤติกรรมการฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร

บริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 1(2) : 59-75.

ปัญญ จันทรสุขโข. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์. วารสารวิทยบริการ. 24(1) : 110-120.

วิษณุ นิลสาคู, ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2560). ความรู้ ความเข้าใจและพฤติกรรมการละเมิดกฎจราจรของเยาวชนในสถานศึกษาเขตพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น

จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 10(4) : 140-163.

สิริมา ศรีสุภาพ, อัจฉราวดี กำมุขโช, คนึงนิตย์ สายสิงห์. (2553). ความรู้และพฤติกรรมด้านการจราจรของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ฐานข้อมูลวิจัยสถาบัน กอง

แผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : ได้มาจาก http://www.plan.msu.ac.th/system/research/

สุดนิรันดร์ เพชรัตน์, รุ่งอรุณ บุญถ่าน, ศานติ จินตรัตน์. (2559). วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะย้อนศร: กรณีศึกษาจังหวัด

นครนายก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11(2) : 141-152.

Akaateba MA, Amoh-Gyimah R. (2013). Driver attitude towards traffic safety violations and risk behaviour in Kumasi: the gender and age

dimension. International Journal for Traffic and Transport Engineering. 3(4) : 479-94.

Boehm F. (2015). Are men and women equally corrupt? Anti-Corruption Resource Centre. Available from

https://www.cmi.no/publications/file/5851-are-men-and-women-equally-corrupt.pdf

Cordellieri P, Baralla F, Ferlazzo F, Sgalla R, Piccardi L, Giannini AM. (2016). Gender Effects in Young Road Users on Road Safety Attitudes,

Behaviors and Risk Perception. Frontiers in Psychology. 7(1412) : 1-11.

Elliott MR, Ginsburg KR, Winston F. (2008). Unlicensed Teenaged Drivers: Who Are They, and How Do They Behave When They Are Behind

the Wheel? Pediatrics. 122(5) : e994-1000.

González-Lglesias B, Gómez-Fraguela JA, Luengo-Martín MA. (2012). Driving anger and traffic violations: Gender differences.

Transportation Research Part F: Traffic Psychology and Behaviour. 15(4) : 404-12.

Grace GCAG, Hashmi SI, Nawi NHM, Li VFY, Abdibin SHSJ. (2020). Examining the Relationship Between Driving Anger and the Violation of

Traffic Laws and Differences Based on Gender. International Journal of Road Safety. 1(1) : 9-15.

Hanna C, Laflamme L, Elling B, Möller J. (2013). Unlicensed driving and other related health risk behaviors: A study of Montana high

school students. Accident; analysis and prevention. 54C : 26-31.

Iversen, H, Rundmo T. (2004). Attitudes towards traffic safety, driving behaviour and accident involvement among the Norwegian public.

Ergonomics. 47(5) : 555-72.

Kolb A, Kolb D. (2005). Learning Styles and Learning Spaces: Enhancing Experiential Learning in Higher Education. Academy of

Management Learning & Education. 4(2) : 193-212.

Liew S, Hamidun R, Mohd Soid NF. (2017). Differences of Driving Experience and Gender on Traffic Offences Among Malaysian Motorists.

MATEC Web of Conferences. 103 : 1-6.

Mohamed M, Bromfield N. (2017). Attitudes, Driving Behavior, and Accident Involvement Among Young Male Drivers in Saudi Arabia.

Transportation Research Part F Traffic Psychology and Behaviour. 47 : 59-71.

Ojih EE, Dashit SI, Dung PH, Ismaila Y, Remi A, (2016). Road Users and Road Traffic Offenses: Implications of Gender. Kaduna Journal of

Sociology. 4(1) : 119-27.

Peck, RC. (2011). Do driver training programs reduce crashes and traffic violations? – A critical examination of the literature. International

Association of Traffic and Safety Sciences. 34(2) : 63-71.

Sabaté-Tomas M, Arnau-Sabatés L, Sala-Roca J. (2014). Factors influencing a risky driving profile among a cohort of young university

students: Bases for adopting evidence-based prevention interventions. The UB Journal of Psychology. 44(3) : 295-310.

Scott-Parker B, Watson B, King MJ, Hyde MK. (2012). Young and Unlicensed: Risky Driving Before Entering the Licensing System. Traffic

Injury Prevention. 13(3) : 213-8.