การกำหนดเขตอำนาจศาลเหนือการกระทำธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

ธีรศักดิ์ กองสมบัติ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวเข้ามามีอิทธิพลต่อการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนการทำกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นถือเป็นกิจกรรมใดๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้าและการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต,การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์,การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์,การตกลงทำสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่างๆ บนเครือข่าย,การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย,การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร เป็นต้น และจากสภาพของการติดต่อสื่อสารกันในอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นจะต้องแสดงตนว่าจริงๆ แล้วเป็นใคร   กำลังเข้าใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ไหน   หรือแม้แต่จะใช้ชื่อสมมติในการติดต่อกับอีกบุคคลหนึ่งทางอินเตอร์เน็ตก็ไม่อาจมีใครที่จะทราบได้   ทำให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดตามกฎหมายได้ จากสภาพปัญหาของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอินเตอร์เน็ตดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาว่าความหมายและรูปแบบของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้จะได้พิจารณาถึงการรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การทำเป็นหนังสือ ลายมือชื่อ ตลอดจนการทำสัญญาและเจตนาในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เวลาและสถานที่ส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนศึกษาถึงเขตอำนาจศาลต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำความเข้าใจว่าประเทศที่พัฒนาทางด้านการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา   เยอรมนี   ฝรั่งเศสและสิงคโปร์  ประเทศเหล่านี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้เขตอำนาจศาลของประเทศตนเองอย่างไร  หากศาลไทยจะนำหลักการขยายเขตอำนาจศาลที่กฎหมายไทยมีอยู่เพื่อศึกษาเปรียบเทียบว่ารูปแบบเดิมมีข้อดี  ข้อเสียอย่างไร   ใช้บังคับได้ในระหว่างประเทศได้หรือไม่  และหากจะนำมาปรับใช้แล้วจะต้องนำหลักใดมาเป็นเกณฑ์


            จากการศึกษาถึงปัญหาดังกล่าว  ผู้วิจัยจึงได้ขอเสนอแนวทางในการตีความหลักมูลคดีเกิดกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ศาลไทยมีเขตอำนาจครอบคลุมไปถึงจำเลยที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ภายในรัฐและเป็นการกระทำละเมิดหรือผิดสัญญาที่ไม่ได้ปรากฏว่ามูลคดีได้เกิดภายในท้องที่ของศาลนั้น  โดยการนำหลักเกณฑ์ของการขยายเขตอำนาจศาลของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้  กล่าวคือเป็นไปตามหลักของการติดต่อเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างน้อย (minimum contact) เพื่อใช้ในการอธิบายถึงจุดเกาะเกี่ยวที่มูลคดีได้เกิดขึ้น ทั้งนี้การนำหลักเกณฑ์ข้างต้นมาปรับใช้กับระบบกฎหมายไทยอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้กฎหมายแต่อย่างใด  เพียงแต่ให้มีการตีความจุดเกาะเกี่ยวเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงกับหลักมูลคดีเกิด  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
พรชัย วิวัฒน์ภัทรกุล ,” เปรียบเทียบหลักกฎหมายขัดกันของอังกฤษกับไทย ว่าด้วยเขตอำนาจศาลในการรับพิจารณาคดีแพ่ง : ศาลไทยควรมีแนวนโยบายอย่างไรหรือไม่ในการรับพิจารณาคดีแพ่งซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร และจำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรในขณะที่เริ่มกระบวนวิธีพิจารณา”,วารสารนิติศาสตร์ 24, 4 (ธ.ค.37) , หน้า 857-875

ไพโรจน์ วายุภาพ, "การแสดงเจตนาและการเกิดสัญญา" เอกสารประกอบการบรรยายในการ สัมมนาเรื่อง “กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" ณ Escape Hall อาคารศูนย์ประชุมสหประชาชาติ วันที่ 23 มิถุนายน 2543 (อัดสําเนา) หน้า 4

สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คําอธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544. (กรุงเทพมหานคร บริษัท พาณิชพระนคร (2535) จํากัด, 2545), น. 123.

ภาษาต่างประเทศ
Benjamin Wright, and Jane k Winn, The Law of Electronic Commerce, 37 edition, (United States of America Aspen Publisher, Inc., 2000). p. 2-1.

Black’ s Law Dictionary, Henry Campbell, (West Publishing Co.1990),p.5000.

Committee on Cyberspace Law, “Litigation In Cyberspace : Jurisdiction and Choice of Law, A United State Perspective,“ American Bar Association,
,September 15, 2000,p.3

Dennis Campbell ( General Editor ) and Christian Cambell ( Editor ), “ Law of International Online Business A Global Perspective “ , ( London : Sweet & Maxwell, 1998 )

Martha Weser, “ Base of Judicial Jurisdiction in the common Market Countries,” The American Journal of Comparative Law 10 ( 1961 ) : 324 – 327

Martin Wolff, Private International Law, p.61.

NIBOYET No. 1804 ; BATIFFOL No.683.

Rougeron v. Veuve Rougeron, Cass. Civ, May 5, 1959, 48 REV. CRIT. DR. INT. PRIVÉ 501 ( 1959 ) ; 86 CLUNET 1158 ( 1959 ) ; Epouxc Morris, Cass. Req., April 29, 1931, 59 CLUNET 98 ( 1932 ).

The Supreme Court of Judicature Act,Cap 322, 1999 Ed and Corresponding provision in the Subordinate Courts Act, Cap 221, 1999 Ed.

Order 11, Rules of Court, Cap 322 R5, 2004 Ed