บทบาทหน้าที่และอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นบ้านที่มีต่อกลุ่มชน และศึกษาอุปกิเลสที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง  โดยผลการวิจัยพบว่า  บทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นบ้านที่พบมากที่สุด คือ ให้ความเพลิดเพลินและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคล  มากที่สุด  รองลงมา คือ ให้การศึกษาในสังคมที่ใช้ประเพณีบอกเล่า  และนิทานที่มีบทบาทหน้าที่ในการอธิบายที่มาและเหตุผล   ส่วนการรักษามาตรฐานทางพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนของสังคม พบน้อยที่สุด


            ส่วนอุปกิเลสที่ปรากฏมากที่สุด  คือ อภิชฌาวิสมโลภะ  รองลงมา คือ  พยาบาท  อันดับที่สาม คือ   โกธะ  และที่ปรากฏน้อยที่สุด  คือ  มัจฉริยะ  กับ  ถัมภะ   ซึ่งการศึกษาบทบาทหน้าที่และอุปกิเลสที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่างนี้  เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของนิทานพื้นบ้านที่มีการสอดแทรกหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันเป็นความเชื่อมโยงกันระหว่างศาสนากับวัฒนธรรมพื้นบ้าน  และถือเป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินชีวิตที่ควรสืบทอดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2514). วรรณกรรมจากบ้านใน. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.
กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ : กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.
กุลณัฐ ธิจันทร์ และคณะ. (2561). การศึกษาอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านของชาวตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. ส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา ภาษาถิ่น เพลงพื้นบ้านและนิทานพื้นบ้าน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
จงกล เก็ตมะยูร. (2538). วิถีชีวิตของชาวบ้านในนิทานพื้นบ้าน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จันทร์ศรี สุปัญญากร. (2517). วรรณกรรมไทยรามัญจากตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เจือ สตะเวทิน. (2517). คติชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์.
ฉันทนา เย็นนาน. (2539). การศึกษาวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านภาคกลาง. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ช่อรัตน์ ไวยฉัยยา. (2545). บทบาทตัวละครเอกในทศชาติชาดก. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐกานต์ โพธิ์ปาน และคณะ. (2561). การศึกษาอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านอีสานตอนใต้. ส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา ภาษาถิ่น เพลงพื้นบ้านและนิทานพื้นบ้าน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม.
ธวัช ปุณโณทก. (2522). วรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ธวัช ปุณโณทก. (2525). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
นัฐนรี เกตุพรหมมา และคณะ. (2560). การศึกษาอุปกิเลสที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านจังหวัดนครราชสีมา. ส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา ภาษาถิ่น เพลงพื้นบ้านและนิทานพื้นบ้าน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ประจักษ์ สายแสง. (2516). วรรณกรรมจากตำบลศรีคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระพรหมคุณาภรณ์, (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระศาสนาโสภณ. (2553). สวดมนต์แปล. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค 1 เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). (2552). นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วรพรรณ สุวรรณชื่อ. (2550). วิเคราะห์จริยธรรมในนิทานพื้นบ้านจังหวัดอุตรดิตถ์. ศิลปศาสตร-มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศรีสุดา เอื้อนครินทร์. (2520). วรรณกรรมพื้นบ้านผู้ไทย ตำบลเรณู จังหวัดนครพนม. ศิลปศาสตร- มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน – นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนิท บุญฤทธิ์, รวบรวมและเรียบเรียง. (2544). นิทานพื้นบ้านภาคใต้. กรุงเทพฯ : สิวีริยาสาส์น.
เสน่หา บุณยรักษ์. (2527). คติชนวิทยา. พิษณุโลก : วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2543). ทฤษฎีคติชนและวิธีการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุกัญญา สุจฉายา. (2522). เพลงปฏิพากย์: การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิเคราะห์. อักษรศาสตร-มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.