กระบวนการถ่ายทอดลำทำนองกาฬสินธุ์ของหมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์

Main Article Content

pattaragon kaphuak

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย ๑)  เพื่อศึกษาประวัติของหมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์  ๒)  เพื่อศึกษากระบวนการการถ่ายทอดลำทำนองกาฬสินธุ์ของหมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม ทำการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒ - เดือนธันวาคม ๒๕๖๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสังเกต กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย หมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ ลูกศิษย์ที่เคยเรียน ลูกศิษย์กำลังเรียน สมาชิกในวงและนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า


๑)  เดิมหมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ ประกอบอาชีพเปิดร้านตัดผม หมอลำวีระพงษ์ ให้ความสนใจเรื่องการร้องการลำ ความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก ๆ อยากมีวงเป็นของตนเอง อยากเป็นหมอลำ อยากมีคนรู้จักมากขึ้น โดยได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ทันใจหวาน ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนการลำและการฟ้อนให้ อีกทั้งตนเองมีพรสวรรค์ในด้านนี้จึงเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เริ่มอาชีพหมอลำอย่างเต็มตัวตอนนั้นเพียงอายุ ๑๙ ปี ในปี ๒๕๒๖ ออกเดินสายรับจ้างลำตามงานต่างๆ เพียงคนเดียว จากนั้นต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เริ่มไปเป็นศิลปินหมอลำกับหมอลำคณะซุปเปอร์สารคาม หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์สารคาม เป็นหมอลำที่มีชื่อเสียงในจังหวัดมหาสารคาม และได้รับบทพระเอก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑  ย้ายมาสังกัดกับหมอลำคณะซุปเปอร์มหากาฬ  หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์สารคาม ซึ่งมีฉายาว่า รุ่งตะวัน แดนภูไท ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ย้ายมาอยู่กับหมอลำคณะฟ้าสีคราม เป็นหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์สารคาม ที่โด่งดังมากในยุคนั้นออกเดินสายลำทั่วอีสานในหลายจังหวัด เช่น ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี สังกัดอยู่กับวงนี้นานมาก ประมาณ ๑๙ ปีกว่า รับบทพระเอก และต่อมารับบทพ่อพญา แฟนเพลงให้การตอบรับมากขึ้นจนมีชื่อเสียง และเป็นวงสุดท้ายก่อนที่จะตัดสินใจมาตั้งวงเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ ตั้งวงดนตรีหมอลำพื้นบ้าน คณะวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ ศิลปินภูไท จนมีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบัน


 


________________________________________________________


 


๒)  กระบวนการถ่ายทอดของหมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ นั้นมีวิธีการรับลูกศิษย์ที่มีใจรักในด้านเสียงร้องเสียงลำ การท่องจำกลอนลำเป็นการศึกษากลอนลำให้เข้าใจด้วยตัวเอง จะเป็นการมอบหมายให้ลูกศิษย์นำกลอนลำไปท่องจำให้ขึ้นใจ โดยที่ยังไม่ลำใส่กับท่วงทำนอง  แต่เน้นการจดจำในเรื่องของคำในบทกลอนให้แม่นยำและขึ้นใจ  การออกเสียงแต่ละคำในบทกลอนลำ  ให้ชัด  ฉะฉาน    หมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์  ถ่ายทอดท่วงทำนองลำต่างๆ  ไปยังลูกศิษย์ด้วยวิธีสาธิตการลำ ให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนแล้วจึงเริ่มถ่ายทอด  การถ่ายทอดท่วงทำนองนั้นๆ  ด้วยวิธีการออกเสียง ระดับเสียงที่ถูกต้องของคำ กลอนแต่ละคำการเอื้อนลูกคอของคำกลอนแต่ละคำในทุกคำที่มีในบทกลอนลำนั้นๆ  ในกระบวนการฝึกท่วงทำนองนี้ต้องอาศัยความอดทนของลูกศิษย์อย่างมาก  เพราะต้อง ออกเสียงของคำกลอนแต่ละคำให้ถูกต้องชัดเจนแล้ว  ระดับเสียงของคำกลอนนั้นต้องเป็นระดับเสียง ที่ถูกต้องตามทำนองการลำ  โดยการเทียบระดับเสียงจากเสียงแคน โดยในการเรียนแต่ละครั้งหมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์จะบันทึกเสียงร้องของตัวเองไว้ให้ลูกศิษย์เอากลับไปฟังหรือฝึกซ้อมด้วยตัวเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
เจริญชัย ชนไพโรจน์ (๒๕๒๖). การละเล่นพื้นบ้านอีสาน. ภาควิชาคุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยุศาสตร์. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
จารุวรรณ ธรรมวัตร (๒๕๒๗). รายงานวิจัย “เรื่องการละเล่นพื้นเมืองอีสาน”มหาสารคาม. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรสวรรค์ พรดอนก่อ (๒๕๖๐). วาทหมอลำอีสาน. สาขาวิชาการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.
ศิริชัย ทัพขวา (๒๕๖๐). การพัฒนารูปแบบการแสดงหมอลำหมู่เชิงธุรกิจ. สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.
อาทิตย์ คำหงษ์ศา (๒๕๕๕). การศึกษาทำนองลำของหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสานตอนกลาง. สาขาวิชาดุริยางคศิลป์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต.