ความเป็นจีนในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล

Main Article Content

เพ็ญประภา เหล่าทะนนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นจีนในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล โดยวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอผ่านแก่นเรื่องเป็นหลัก โดยใช้แนวคิดองค์ประกอบทางวรรณกรรมแก่นเรื่อง ข้อมูลตัวบทที่นำมาศึกษามีจำนวน 6 ได้แก่ สำเภาทอง ม่านมรสุม ไชน่ามูน รองเท้าไม้ บ้านชายดง และแผ่นดินใหญ่ ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านแก่นเรื่อง ในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล ได้นำเสนอความเป็นจีนอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1) แก่นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต 2) แก่นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว 3) แก่นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ 4) แก่นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ซึ่งกลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านแก่นเรื่องดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นระบบความคิด ความเชื่อ โลกทัศน์ ค่านิยม และอุดมการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมชองชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนที่สืบเนื่องมาจวบจนถึงปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญูจน วิชญาปกรณ์. (2549). หลักเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องสั้นและนวนิยาย. พิษณุโลก : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2543). วรรณคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ.ม.ล. (2539). แว่นวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อ่านไทย.
ประภัสสร เสวิกุล.สําเภาทอง. (2541). กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า.
_______. ม่านมรสุม. (2541) กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า.
_______. ไชน่ามูน. (2558). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
_______. ซิ้มใบ้. (2537). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า.
_______. 60 เรื่องสั้น ประภัสสร เสวิกุล. (2555). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2550). บ่บั้ดบ่ย้งก๊ง วัฒนธรรมไทยจีน ไม่รู้ต้องแสวง. กรุงเทพฯ : สีดา.