ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคในตลาดรถยนต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

Main Article Content

นิติวัฒน์ ภูคงคา
ประทานพร จันทร์อินทร์
แคทลียา ชาปะวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคในตลาดรถยนต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย  โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคในตลาดรถยนต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, F- test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ  ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารการตลาดโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองสินค้า ด้านความดึงดูดใจ และด้านความเหมือน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความตั้งใจซื้อ ดังนั้นนักการตลาดควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองสินค้า โดยเฉพาะ ด้านความดึงดูดใจ และด้านความเหมือน เพื่อดึงความสนใจจากผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ อยากจะรู้จักกับสินค้า หรือทำให้ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าซึ่งจะนำไปสู่ความตั้งใจซื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (5 th ed.). กรุงเทพฯ: สุริวิยาสาส์น.
2. ปณิชามน ตระกูลสม. (2562). ผลการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองเครื่องสำอางต่อความตั้งใจซื้อสินค้า. วารสารนิเทศศาสตร์, 37(3), 10-19.
3. ภัสราพร รัตนชาติ. (2557). ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียงและกลยุทธ์การค้าปลีกที่มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้า ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพฯ. สุทธิปริทัศน์, 28(88), 386.
4. มนตรี พิริยะกุลและอริญชย์ ณ ระนอง. (2560). อิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาสินค้าในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพล ขององค์ประกอบของการรับรองผลิตภัณฑ์โดยบุคคลที่มีชื่อเสียงสู่ความตั้งใจซื้อ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 7(13), 31–50.
5. ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Celebrity Marketing. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ เลิฟ.
6. สิริลัคน์ ประเสริฐศรี. (2548). บุคคลที่มีชื่อเสียง (Celebrity) กับการเป็นพรีเซ็นเตอร์ (Presenter). สาระนิพนธ์วารสารศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. อริญชย์ ณ ระนอง. (2559). อิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาสินค้าและทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของการรับรองผลิตภัณฑ์โดยบุคคลที่มีชื่อเสียงสู่ความตั้งใจซื้อ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(3), 145–168.
8. Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making (4 th ed.). Newyork: John Wiley & Sons.
9. Howard, J. A. (1994). Buyer behavior in marketing strategy (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
10. Johansson, M. & Bozan, O. (2017). How does celebrity endorsement affect consumers perception on brand image and purchase intention. Luleå University of Technology.
11. Muda, M., Musa, R., Mohamed, R. N. & Borhan, H. (2014). Celebrity Entrepreneur Endorsement and Advertising Effectiveness. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 130, 11–20. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2014.04.002
12. Pradhan, D., Duraipandian, I. & Sethi, D. (2016). Celebrity endorsement: How celebrity–brand–user personality congruence affects brand attitude and purchase intention. Journal of Marketing Communications, 22(5), 456–473.
13. Saldanha, N., Mulye, R. & Rahman, K. (2018). Who is the attached endorser? An examination of the attachment-endorsement spectrum. Journal of Retailing and Consumer Services, 43, 242–250.
14. Terason, S. (2014). ความสัมพันธ์ของนักกีฬาในชิ้นงานโฆษณากับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้รับสารในเรื่องความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 35(3), 34–48.
15. Zeithaml, V. A., Berry, L. & Parasuraman, A. (1990). Delivery Quality Service: Balancing Customer Perception and Expectations. New York: The Free Press.