The การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรง ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านทักษะปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ วิชาศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรง ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านทักษะปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ วิชาศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เสาวรี ภูบาลชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินขั้นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบวัดทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจ สังเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ (Content Analysis)และตีความ (interpretation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test (Dependent Sample t-test)


              ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


                   1.กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 ขั้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.54)


                   2.ผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น


                        2.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.61/88.02


                        2.2 นักเรียนมีทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


                        2.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                        2.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.93)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์และสันติ วิจักขณาลัญฉ์. (2545). การพัฒนาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา คู่มือการพัฒนาการเรียนการสอน. ขอนแก่น: คลังนานาธรรมวิทยา.
ชวลิต ชูกำแพง. (2555). หลักสูตรการวิจัยและพัฒนา. มหาสารคาม: สำนักพิมพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนกร มหัทธนะกุลชัย. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติ วิชาดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.
วีณา ประชากูล, และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยืดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: เทียนวัฒนา พริ้นติ้ง.
ฆัมพร ภูมิประสาท. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. วิทยานิพนธ์ วท.บ.
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชวลิต ชูกำแพง. (2550). การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นัฐฐนิภา ประทุมชาติ.(2560). ได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่องเศษส่วนและการประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีรยุทธ จันทร์เหลือง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการ
เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรชัย งามชื่น. (2556). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง. ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิญญา ผลภิญโญ. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาล
มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of teaching. (5rd ed.) London: Allyn and Bacon.
วิธาดา สินประจักษ์ผล. (2536). การจัดห้องเรียนเพื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ. สารพัฒนาหลักสูตร.
12 (144) : 23-29 ; เมษายน-พฤศจิกายน.