การวิเคราะห์ข้อมูลและพฤติกรรมการลงทะเบียนเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

วลัญชพร ฆารไสว

บทคัดย่อ

       การวิเคราะห์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีปีการศึกษา 2556 – 2560 มหาวิทยาลัยมหาสารคามและเพื่อศึกษาพฤติกรรมการลงทะเบียนเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การวิเคราะห์ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2556- 2560 ดำเนินการโดยเปรียบเทียบข้อมูลและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Microsofe Excel เพื่อคำนวณหาผลรวม (Total : ∑) ค่าเฉลี่ย (Mean : ) และค่าร้อยละ (Percentage : %) แล้วนำเสนอเป็นตาราง แผนภูมิและบรรยายสรุปเป็นความเรียงการวิเคราะห์พฤติกรรมการลงทะเบียนเรียนของนิสิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการลงทะเบียนเรียนและแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและพฤติกรรมการลงทะเบียนเรียนของนิสิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ปรากฏดังนี้


  1. การวิเคราะห์ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2556 – 2560 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังนี้

              1.1 การลงทะเบียนเรียน พบว่า นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนได้สมบูรณ์ครอบคลุมทั้ง 3 ภาคการศึกษาโดยนิสิตลงทะเบียนในภาคต้นมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคปลาย และภาคฤดูร้อน/ภาคการศึกษาพิเศษ ตามลำดับ


              1.2 การลงทะเบียนเรียนเพิ่มและเปลี่ยนแปลงรายวิชาเรียน พบว่า นิสิตมีการลงทะเบียนเรียนเพิ่มมากที่สุดรองลงมามีการถอนรายวิชา มีการถอนรายวิชา W และมีการลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต (Audit) ตามลำดับ


              1.3 การเปลี่ยนกลุ่มการเรียนระดับปริญญาตรี พบว่า ปีการศึกษา 2559 มีนิสิตเปลี่ยนกลุ่มการเรียนมากที่สุดรองลงมาเป็นปีการศึกษา 2560 ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2557 ตามลำดับ โดยปีการศึกษา 2556 มีนิสิตเปลี่ยนกลุ่มการเรียนน้อยที่สุด


  1. การวิเคราะห์พฤติกรรมการลงทะเบียนเรียนของนิสิต ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังนี้

               2.1 พฤติกรรมการลงทะเบียนเรียนของนิสิตทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1) ด้านพฤติกรรมก่อนการลงทะเบียนเรียนในระบบบริการการศึกษา นิสิตตรวจสอบรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาก่อนการลงทะเบียนเรียน 2) ด้านพฤติกรรมหลังการลงทะเบียนเรียนในระบบบริการการศึกษา นิสิตตรวจสอบตารางเรียนหรือตารางสอบ 3) ด้านการรับความรู้การลงทะเบียนเรียนจากอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำช่วยเหลือในกรณีที่มีผลการเรียนต่ำหรือเพิ่มศักยภาพในการเรียนให้สูงขึ้น 4) ด้านการใช้บริการจากเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศนะและการบริการ


               2.2 ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบการลงทะเบียนเรียน มหาวิทยาลัยควรปรับปรุงระบบให้มีความรวดเร็ว รองรับผู้ใช้บริการจำนวนมากได้ ควรพัฒนาให้เว็ปไซต์และระบบให้มีความรวดเร็วมากกว่านี้ ความรวดเร็วของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ควรเพิ่มช่องทางการลงทะเบียนเรียนมากกว่านี้ ควรเพิ่ม Server ให้รองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่านี้และพัฒนาระบบลงทะเบียนเรียนให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2551.
ภาณุเดช เพียรความสุข และคณะ. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี., 2558.
วลัญชพร ฆารไสว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ในการลงทะเบียนเรียนและการพ้นสภาพของนิสิตที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพนิสิตในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพการเป็นนิสิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2561.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์ . การศึกษารูปแบบการให้บริการด้านการลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : กองทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2559.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาระบบการลงทะเบียนเรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : กองทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.
สาวิตรี อดกลั้น. ความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาที่มีต่อการลงทะเบียนเรียนเพิ่ม - ถอนรายวิชา. ปัญหาพิเศษ วท.บ. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.
อรอนงค์ เมฆพรรณโอภาสและคณะ. ความพึงพอใจ ปัญหา และสาเหตุต่อการใช้ระบบบริการการศึกษาและการลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ Internet ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : กองทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
2547.