ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของของเยาวชน ในสถานศึกษาจังหวัดตรัง

Main Article Content

อรุณี ชุนหบดี
`ธิดารัตน์ สุภานันท์
กาญจณา พรหมทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดตรัง   โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดตรังจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของของเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดตรัง มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.756  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ ไคสแควร์  ( gif.latex?\chi2)  พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 51.20  เพศหญิง ร้อยละ 48.80 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย (อายุ 17-19) ร้อยละ 39.5 มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ร้อยละ 14.0  โดยเป็นเพศชายร้อยละ 12 และเพศหญิงร้อยละ 2  และพบว่าเพศ สิ่งแวดล้อม บุคลิกภาพ และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยเพศมีควาgif.latex?\chiมสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (  gif.latex?\chi2 = 30.957, p = <0.001) สิ่งแวดล้อมที่มี เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้องสูบบุหรี่  และครอบครัวที่มีบิดามารดา ญาติสูบบุหรี่ จะมีความสัมพันธ์กับการสูบหรี่ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (  gif.latex?\chi2 = 12.28 , p = <0.001 และ  gif.latex?\chi2 = 6.784 , p = 0.009)  บุคลิกภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ  ความวิตกกังวลง่าย   ( gif.latex?\chi2  = 5.531 , p = 0.019)   รับฟังผู้อื่น ( gif.latex?\chi2  =5.531 , p=0.005)    และมีความเห็นอกเห็นใจ ( gif.latex?\chi2 = 3.976 , p = 0.046)    และยังพบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ0.01 ( gif.latex?\chi2 = 71.180 , p = <0.001)  จากผลการศึกษาสามารถนำข้อมูลผลการวิจัยโดยเฉพาะการปรับทัศนคติของเยาวชนไปใช้ในการวางแผน เพื่อดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการในการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดตรัง ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานจังหวัดปลอดบุหรี่ต่อไป 


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลภู ถนอมสัตย์. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ
สูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชาย
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาตราด. วารสารการ
พยาบาลและการศึกษา, 4(3), 38-47
เดือนฉาย ปั๋นป้อม. (2561). ผลของการเรียนรู้แบบ
มีส่วนร่วมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การเลิกสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้มัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2562, จากhttps://www.graduate.cmru.ac.th/core/km_file/400.pdf
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2558). การพยาบาลเด็ก1:
นนทบุรี: บริษัท ธนาเพลส จำกัด
ไพฑูรย์ วุฒิโส. (2556). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ ของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล, 62(1),12
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระประสงค์ใน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2561).
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 28 / เรื่องที่ 6 พิษภัยของบุหรี่ / ผลกระทบของ
การสูบบุหรี่, 1 มีนาคม 2562.
https://kanchanapisek.or.th
สุรีรัตน์ เวียงกมล. (2560). ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของ
นักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารกองการพยาบาล
สาธารณสุข, 31(2), 92-108.
ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฎ์และปวีณา ปั้นกระจ่าง.
(2561).รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของ
ประเทศไทย พ.ศ.2561.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควยคุมยาสูบ(ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล
ศศิธร ชิดนายีและวราภรณ์ ยศทว. (2561). ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 19
สิงหาคม 2562, จาก.
https://www.tcithaijo.org/index.php/unc/arti
cle/ download/132739/99611/.
Jonh, S.D. & Jonh, F.T. 2010.
HumanDevelopment: Across the lifespan.
5thed. NY: the McGraw Hill.
Fritz, D.J. et al. 2008. “Program strategies for
adolescent smoking cessation”.
National Association of School Nurses
24(1): 21-27.
World health organization. (2017). WHO
The Situation of tobacchttps://www.who.int/topics/tobacco/en