การตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ประกอบการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนบุคคลและปัจจัยด้านธุรกิจกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) แล้วในจังหวัดกระบี่ จำนวน 60 ราย โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของผู้ประกอบการ คือการมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้และสามารถเพิ่มยอดขายสินค้าได้ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจเข้าร่วม รองลงมาคือสามารถรับรองความปลอดภัยและสร้างความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ มีโอกาสในการเข้าร่วมแสดงสินค้าที่จัดโดยภาครัฐมากขึ้น 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านธุรกิจ กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่าปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านธุรกิจ ได้แก่ ลักษณะของสถานประกอบการ ขนาดของธุรกิจ ระยะเวลาก่อตั้ง และยอดขายมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐาน มผช. ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
References
สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์
จิราวรรณ เลิศคุณลักษณ์ และคณะ (ม.ป.ป.). (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผลิตมะม่วงตามแนวทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 30(3) : 13-21
ชิบ จิตนิยม. (2534). ความต้องการข่าวสาร การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของกลุ่มประชาชนผู้ใช้บริการเคเบิลทีวี: ศึกษาเฉพาะกรณีสมาชิกของบริษัทอินเตอร์ชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด. (วิทยานิพนธ์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิธิดา พระยาลอ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารสาร มข. มส. 3(1) : 33-51
ปรียานุช ดีพรมกุล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอาชีพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด
ศุภชานันท์ วนภู และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อการตัดสินใจเป็นสมาชิกแฟนเพจบ้านมะขามเทศดอนสระจันทร์ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(6) : 430-444
ศูนย์กสิกรไทย. (2562). ต่างชาติเที่ยวไทยปี 2562 เผชิญโจทย์ท้าทายมากขึ้น [สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562]: จาก: URL// www.kasikornresearch.com
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่สู่ความยั่งยืน. [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2562]: จาก: URL// www.krabi.go.th
อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์, อุดม สาระพันธ์. (2551). ความคิดเห็นของผู้ประกอบการส่งออกไทยต่อมาตรฐานสากล ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 20006 Social Responsibility). สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล