การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนรู้ในช่วงระยะโควิด – 19

Main Article Content

ปัณฑิตา อินทรักษา

บทคัดย่อ

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2562 ได้มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งประชาชนทั่วไปทราบในชื่อของโควิด-19 และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นโรคระบาดโควิด-19 ที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ มีผลกระทบอย่างรุนแรงในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น สังคม ครอบครัว เศรษฐกิจ อาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพอนามัย และที่หลีเลี่ยงไม่ได้ คือ มีผลกระทบต่อการศึกษาในภาพรวมของประเทศ กระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน เพราะการเรียนรู้ของเด็ก ๆ จะหยุดไม่ได้  ดังนั้น ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามามีบทบาทในการช่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทการสอน เรียนรู้เทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ผู้ปกครองเพิ่มบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นครูผู้สอน และจัดกิจกรรมให้กับบุตรหลานของตนเอง ผู้เรียนจะต้องปรับการเรียนรู้ใหม่ มีความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้  ใช้สังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น รัฐจะต้องเป็นผู้สนับสนุนทรัพยากรพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะในช่วงโควิด-19 นั้น ครูและผู้ปกครองจะต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง สืบค้นข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ค้นหาความรู้ด้วยตนเองมีการลองผิดลองถูก จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา ให้ผู้เรียนรู้จักค้นหาทางเลือกเพื่อการแก้ปัญหา และการตัดสินใจแก้ปัญหาซึ่งจะนำมาซึ่งการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และในที่สุดผู้เรียนก็จะเกิดสมรรถนะจากการร่วมมือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและผู้ปกครอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2555). สมรรถนะวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผลิตตําราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2550). เทคนิคการจัดทํา Job Descriptions บนพื้นฐานของ Competency และ KPI. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอชอาร์ เซ็นเตอร์ จํากัด.
ธํารงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). Competency ภาคปฏิบัติ เขาทํากันอย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Learning Management With Social Media) วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2562 หน้า 361-363.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุรินทร์ บุญสนอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สถาบันดํารงราชานุภาพ. (2549). ความสำคัญของ Competency. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
Mc Clelland, D.C. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. American Psychologist.