การคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

สุพัตรา ชาวสวน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ศึกษาตัวชี้วัดผลการดำเนินการอื่นๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ และปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence - EdPEx) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยใช้สถิติวิจัยซึ่งมีระดับความเชื่อมั่น 95% จากจำนวนบุคลากร 30 คน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า (1) การคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ทั้ง 5 ด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวม (S.D.) เท่ากับ 0.62 และตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมมากที่สุดแบ่งเป็นตัวชี้วัดกระบวนการ(Leading Indicator) รวมผลลัพธ์ตัวชี้วัดทั้ง 5 ด้าน มีจำนวน 26 ตัวชี้วัด ส่วนตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Lagging Indicator) รวมผลลัพธ์ตัวชี้วัดทั้ง 5 ด้าน มีจำนวน 22 ตัวชี้วัด (2) ตัวชี้วัดผลการดำเนินการอื่นๆที่เหมาะสมเพิ่มเติม มีทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด (3)ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกตัวชี้วัดของผลการดำเนินงาน ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านกระบวนการ และด้านการมุ่งเน้นลูกค้า มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล และด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด มีปัจจัยส่วนบุคคลไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ใจชนก ภาคอัต. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาสถาบัน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภาวนา กิตติวิมลชัย, วรลักษ์ ศรีอนันต์, สุรีย์รัตน์ โล่ห์อภิรักษ์กุล, คมสัน พันธุ์ชัยเพชร, เอกลักษณ์ ขาวประภา และสุรวุธ พุ่มอิ่ม. (2555). การศึกษาเพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ (KPIs) ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และปัญหาอุปสรรคในการนำเอาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการไปสู่การปฏิบัติ. สำนักงานประเมินและประกันคุณภาพ: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์นพิมพ์.
ประภาศ ปานเจี้ยง. (2553). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ค้นเมื่อ [26 มีนาคม 2563]. จากแหล่งสารสนเทศ. [https://liberalart.hu.ac.th/ Research/Aticle/02_Prapas.pdf.]
สุวัฒน์ งามดี และปิยพร มานะกิจ. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ตามเกณฑ์ EdPEx กรณีศึกษา: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพ การศึกษา: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิรินันท์ ตรีมงคลทิพย์, และอรทัย สารกุล. (2555). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. งานประกันคุณภาพการศึกษา ฝ่ายแผน และประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
David Hopkins, Marilyn Leask and Kath Aspinwall. (1989). Quote in Kath Aspinwall. Managing Evaluation in Education Developmental Approach. New York: Routledge.
Burstein Leigh, Jeannie Oakes, and Gial Quiton. (1992). Education indicator: Encyclopedia of educational research. 6th ed. New York: Macmillan.