แนวทางการพัฒนาตลาดสินค้านำเข้ามือสอง กรณีศึกษาตลาดนัดมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแนวทางการพัฒนาตลาดสินค้านำเข้ามือสอง กรณีศึกษาตลาดนัดมะพร้าวอำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้านำเข้ามือสอง ตลาดนัดมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2) ศึกษาศักยภาพและแนวทางในการพัฒนาตลาดสินค้านำเข้ามือสอง ตลาดนัดมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เดินทางมายังตลาดสินค้านำเข้ามือสอง ณ ตลาดนัดมะพร้าว 400 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของ Krejcie and Morgan และวิเคราะห์ผลการศึกษาเชิงปริมาณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) เหตุผลหลัก ที่เดินทางมายังตลาดสินค้านำเข้ามือสอง ตลาดนัดมะพร้าว คือ มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ราคาถูก 2) ศักยภาพและแนวทางในการพัฒนาตลาดสินค้านำเข้ามือสอง ตลาดนัดมะพร้าว คือ สินค้าหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดี ปัญหา คือ ด้านการคมนาคมและการจราจร ควรมีป้ายบอกสถานที่ โซนที่ชัดเจน มีความเหมาะสมของพื้นที่ในการจอดรถรอบตลาดนัด ด้านระบบภูมิทัศน์ควรมีช่องทางเข้า-ออก ที่สะดวกเรียบร้อย
Article Details
References
https://www.dlt.go.th.
ดลฤดี จันทร์แก้ว และคณะ. (2556).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคสินค้าและบริการของไทยตาม
แนวชายแดนไทย ลาว กัมพูชา.วารสารศรีวนาลัยวิจัย.4(7)(ม.ค.-มิ.ย.) : 102-117.
นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์และคนอื่นๆ. (2554). โครงการ การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย กรณีศึกษา
ตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.).
บายฮียะ เจ๊ะด๊ะ และชนิษฎา ชูสุข. (2558). เหตุการณ์ความไม่สงบ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลตันหยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, 26 มิถุนายน 2558. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 1088-1099.
ภัทราพร สังข์พวงทอง และอุมาพร ตันติยาทร. (2556). เส้นทางรองเท้ามือสอง. (ออนไลน์) ).เข้าถึงได้จาก:
https://eoffice.ku.ac.th.
มธุรดา สมัยกุล. (2557).การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-
กัมพูชา. วารสารวิทยบริการ. 25(1)(ม.ค.-เม.ย.) : 22-30.
มธุรา สวนศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ ตลาดน้ำ บาง
น้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 17(31)(ม.ค.-มิ.ย.) : 41-55.
มธุรา สวนศรี. (2559).ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในจังหวัด
ปทุมธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 11(1) (ม.ค.-มิ.ย.) : (69-79).
สุทธาสินี แก้วขอด. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้ามือสองของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (แบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะ
เศรษฐศาสตร์.
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย. (2560). วิธีบริหารตลาดนัดแบบมืออาชีพ.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:
http://thairealestate.org.
สำนักงานการท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดยะลา. (2561). จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตลาดนัดมะพร้าว
จังหวัดยะลา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://yala.mots.go.th.
Thaismescenter. (2559). รวมข้อดี-ข้อเสีย-ของการขายของ-ตลาดนัด.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:
www.thaismescenter.com.
Thaifranchise Center. (2560). ศูนย์รวมธุรกิจเฟรนไชน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://www.thaifranchisecenter.com.