กระบวนการผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

Main Article Content

PIYALUK POTIWAN

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการสะท้อนถึงกระบวนการผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยผ่านแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ ความเสมอภาค เสรีนิยม และแนวคิดประชาธิปไตย เป็นกรอบหลักของการวิเคราะห์ พร้อมกับปรากฏการณ์จริงของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า มิติความเหลื่อมล้ำทางการเมืองยังเกิดการผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีกเพราะอำนาจที่มีอย่างไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจของผู้นำกองทัพในการทำรัฐประหาร การสร้างกฎหมายใหม่ ๆ ที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับตนและกลุ่มของตนเอง การเอื้อผลประโยชน์ให้กับนักธุรกิจรายใหญ่ และการไร้จริยธรรมทางการเมือง จากข้อมูลที่พบเชื่อว่ากระบวนการผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยจะยังคงเกิดขึ้นในมิติของรูปแบบต่าง ๆ ด้วยกระบวนการสร้างความผิดให้เป็นความชอบธรรมผ่านกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการใช้นโยบายประชานิยม และการเอื้อผลประโยชน์ต่อกลุ่มของตนเองอย่างไร้ศีลธรรม ส่วนคนรวยก็จะรวยเพิ่มมากขึ้น คนจนก็จะยากจนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน หากวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยยังคงอยู่ในวัฏจักร   เดิม ๆ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2560
โกวิทย์ กังสนันท์. (2559). การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการลดความเหลื่อมล้ำ. การประชุมวิพากษ์
ยุทธศาสตร์, การวิจัยรายประเด็น, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2562). ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th.
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562

ทวี สุรฤทธิกุล (2562). การเมืองไทยยังไม่พ้นวงจรอุบาทว์. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th.
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562.
บรรเจิด สิงคะเนติ (2562). เวทีสัมมนา “ลดช่องว่างเหลื่อมล้ำ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม”. การประชุม,
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 ประจำปี 2562 สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net.
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562
ไพสิฐ พาณิชย์กุล. (2557). ความเป็นธรรมทางสังคม. โครงการพัฒนาความเป็นธรรมทางสังคมเพื่อสังคมสุขภาวะ,
สถาบันวิจัยสังคม, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ภิรัชญา วีระสุโข (2562) แนวคิดอรรถประโยชน์นิยมและทฤษฎีความยุติธรรม.
สืบค้นจาก http://integratedsciences-sila.blogspot.com/2011/05/blog-post.html
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562.
ภิรัชญา วีระสุโข (2562) Talisse, On Rawls A Liberal Theory of Justice and Justification
สืบค้นจาก http://integratedsciences-sila.blogspot.com/2011/05/blog-post.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562.
วิชิต ณ ป้อมเพชร (2561). ทำความเข้าใจความเหลื่อมล้ำ. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net.
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562.
สมชัย จิตสุชน (2558). ระเบิดเวลาหรือยากระตุ้นเศรษฐกิจ. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย