ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่มีต่อวังช้างอยุธยาแลเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

Nantida Chanpetch

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่มีต่อวังช้างอยุธยาแลเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่มีต่อวังช้างอยุธยาแลเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกเป็นปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านประสบการณ์การท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวญี่ปุ่น จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t – Test และ One-Way ANOVA  ผลการศึกษา พบว่าความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่มีต่อวังช้างอยุธยาแลเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.97) เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมีความพึงพอใจ ด้านกิจกรรมภายในสถานที่ มากที่สุด (  = 4.19) รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อม ( = 3.89) และด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ( = 3.76) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพสมรส ลักษณะการเดินทางมาท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ต่างกันมีความพึงพอใจต่อวังช้างอยุธยาเพนียดแลอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน แต่กลับพบว่า ช่วงอายุ และความประสงค์ในการเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำอีก มีความพึงพอใจต่อวังช้างอยุธยาเพนียดแลอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                                                      

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตด้านการท่องเที่ยวท่องเที่ยว (online).
www.mots.go.th/old/more_news.php?cid=411.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ ๔ ปี พ.ศ.
๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ (online). www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=6.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). คู่มือแนวทางการจัดการที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท.
กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
จิตตินันท์ นันไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : สามลดา.
ทวีลาภ รัตนาราช. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของการท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงสัมผัส
วัฒนธรรม ในรูปแบบโฮมสเตย์ ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ไม่มีวันตายของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ซี.พี.บุ๊ค สแตนดาร์ด.
วังช้างอยุธยาแลเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2548). ข้อมูลวังช้างอยุธยาแลเพนียด จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา (online). www.changdee.com.
สำนักข่าวมติชนออนไลน์. (2561). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับ บีบีดีโอ กรุงเทพ เปิดตัวภาพยนตร์
โฆษณา Amazing Thailand “Open to the New Shades” (online). www.matichon.co.th/publicize/news_845586.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บริการข้อมูลการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(online). www.ayutthaya.mots.go.th/index.php.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). โครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจของ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยประจำปี 2560 (online). www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12112.
UNWTO. 2010. Tourism Definitions (online). www.tourismsociety.org/page/88/tourism-definitions.htm.