การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยพื้นฐานการบวกวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

นายสุชาติ หอมจันทร์
วนิดา หอมจันทร์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยพื้นฐานการบวกวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2)หาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยพื้นฐานการบวกวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 350 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยสร้างตาม สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต มาตรฐาน ค 1.1 ตัวชี้วัดที่ 7 – 14  รวมทั้งหมด 8 ตัวชี้วัดแบบทดสอบที่สร้างขึ้นประกอบด้วยแบบทดสอบเพื่อสำรวจ มีลักษณะเป็นแบบเติมคำตอบจำนวน 80 ข้อ ตามตัวชี้วัด ๆ ละ 10 ข้อ และแบบทดสอบวินิจฉัย ลักษณะของแบบทดสอบเป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยพื้นฐานการบวกที่สร้างขึ้น จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.20 – 0.74 มีอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.24 – 0.74 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สำหรับค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60 – 1.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2558). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กาฬสินธุ์ : ประสาน
การพิมพ์.
นิรุธ จอมพุก. (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ สาระที่ 4
พิชคณิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ลพบุรี เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์.12(27) : 170 – 182.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). รูปแบบผลการเรียนในโรงเรียน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.(2563). ประกาศผลสอบ O-NET[cited 2020 April 2] : Available from:
URL// https://www.niets.or.th/th/
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา
2562. สุรินทร์ : กลุ่มนโยบายและแผน. 9 - 10.
อรรัตน์ ลัดดา. (2558). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและ
การลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
21(1) : 284 – 296
เอกพล แสนโคตร. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารราชพฤกษ์. 14(1) : 69-76.
Gronlund, Norman E. (1976). Measurement and Evaluation in Teaching. New York : Macmillan
Publishing Co. lnc.
Ketterlin-Geller, L., & Yovanoff, P. (2009). Cognitive diagnostic assessment in mathematics to
support instructional decision making. Practical Assessment, Research, & Evaluation,
14 (16), 1-11.
Loun Saiyos and Angkana Saiyos. (2000). Techniques of learning measurement. Bangkok : 2nd
Edition Suveeriyasarn Printing House.
Struyven, K., Dochy, F., &Janssens, S. (2008). The effects of hands‐on experience on students'
preferences for assessment methods. Journal of Teacher Education. 59(1), 69‐88.