การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานจิตรกรรมทิวทัศน์สำหรับนักศึกษาสาขาวิจิตรศิลป์

Main Article Content

ketdara potha

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานจิตรกรรมทิวทัศน์สำหรับนักศึกษาสาขาวิจิตรศิลป์ และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานจิตรกรรมทิวทัศน์สำหรับนักศึกษาสาขาวิจิตรศิลป์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย หลักสูตรเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานจิตรกรรมทิวทัศน์สำหรับนักศึกษาสาขาวิจิตรศิลป์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินชิ้นงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ได้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานจิตรกรรมทิวทัศน์สำหรับนักศึกษาสาขาวิจิตรศิลป์ มี 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1.รู้วิธีรักษาสี มีงานศิลป์ 2.จัดแสงเล่นสี 3.ร่างสนุก สุขสร้างสรรค์ และ 4.ละเลงสี สร้างศิลป์ หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก () หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก () และผลการใช้หลักสูตรคือ นักศึกษามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน(),() ตามลำดับ และด้านทักษะการปฏิบัติงานจิตรกรรมทิวทัศน์อยู่ในระดับคุณภาพดีมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.07

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอาชีวศึกษา.กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาศิลปกรรม.ม.ป.ท
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักสูตรอาชีวศึกษา.กรุงเทพฯ : ม.ป.ท
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัทอาร์แอนด์ปรินท์จำกัด.
อติยศ สวรรคบุรารักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิณภัศ จิตรกร. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 14(1) : 60-72