การศึกษาการแปรรูปวรรณกรรมจากนวนิยายสู่บทละครโทรทัศน์ เรื่อง เมียน้อย

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพิชฌาย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของบทประพันธ์เรื่องเมียน้อย ของทมยันตี
ในส่วนของเนื้อเรื่อง โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนา และศึกษากลวิธี การดัดแปลงจากนวนิยาย
เรื่องเมียน้อย ของทมยันตี มาเป็นบทละครโทรทัศน์เรื่องเมียน้อยของ มาวิน อักษรา ผลการวิจัยพบว่า        บทละครโทรทัศน์เรื่องเมียน้อย ของมาวิน อักษรา มีองค์ประกอบครบสมบูรณ์ตามทฤษฎีโครงสร้างวรรณกรรม มีกลวิธีการดำเนินเรื่องน่าสนใจและน่าติดตาม มีการเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเข้ามาเพื่อให้เนื้อเรื่องเข้มข้นและมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น มีการเพิ่มตัวละครพิเศษทำให้เรื่องน่าสนใจยิ่งขึ้นมีการเลือกตัวละคร
ได้อย่างเหมาะสม การใช้ถ้อยคำสื่อสารได้อย่างเข้าใจ เมื่อวิเคราะห์กลวิธีการดัดแปลงจากนวนิยายของ ทมยันตี
สู่บทละครโทรทัศน์ของ มาวิน อักษรา เรื่องเมียน้อย พบว่ามีกลวิธีการดัดแปลงดังนี้ การคงเนื้อหาไว้
การตัดเนื้อหาออกบางส่วน การปรับเนื้อหาให้เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงเนื้อหา การเพิ่มเติมเนื้อหา และการเพิ่มตัวละคร โดยยังคงคุณค่าของบทประพันธ์เดิมไว้ทุกประการ

Article Details

บท
บทความวิจัย