การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพรสำหรับสนับสนุนการปรุงยาของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ชารินี ไชยชนะ

บทคัดย่อ

สมุนไพรเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ ที่มีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะเพื่อการดูแลสุขภาพ ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิดโดยเฉพาะพืชสมุนไพรทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพรไทยสำหรับสนับสนุนการปรุงยาของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท ในจังหวัดสกลนคร เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพรไทย 10 อันดับแรกที่ถูกนำมาใช้ในการรักษามากที่สุดในโรงพยาบาล ได้แก่ 1) กำแพง 7 ชั้น 2) กำแพง 9 ชั้น 3) โด่ไม่รู้ล้ม 4) เถาวัลย์รางแดง 5) เถาวัลย์เอ็นอ่อน 6) เถาวัลย์เปรียง 7) ไพร 8) ขมิ้นชัน 9) รางจืด และ 10) ฝาง จากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัยประกอบด้วย ดิน อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถแนะนำพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรไทยเพื่อให้เกษตรกรภายในจังหวัดสามารถป้อนผลผลิตที่ได้ให้กับโรงพยาบาลได้ตามความต้องการและเพียงพอต่อการผลิตสมุนไพรสำหรับการปรุงยา อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระจายรายได้สู่เกษตรกรในท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). กลุ่มชุดดิน 62 กลุ่ม. (Online), 12 สิงหาคม 2562. http://www.ldd.go.th
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น Smart Officer สมุนไพรและเครื่องเทศ. กรุงเทพฯ: กรม.
กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2545). คู่มือพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ ชุดที่ 1 การปลูกพืชสมุนไพรและ เครื่องเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป.). ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ. (Online), 18 กันยายน 2562. http://www.dnp.go.th/EPAC/Herb/26rangjeed.htm
สมชัย นิจพานิช. (2556). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2554-2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สํานักข้อมูลและประเมินผล กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2555). คู่มือการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากพืชสมุนไพร. กรุงเทพฯ: มูฟเม้นท์ เจน ทรี.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป.). ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ที่เหมาะสมกับระบบ นิเวศและวิถีชีวิตชุมชน เพื่อลดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียงภายใต้โครงการชุมชนอยู่คู่ อุตสาหกรรม. (Online), 1 สิงหาคม 2562. http://www.onep.go.th/plant/main_report.php
ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. (2562). ภูมิอากาศจังหวัดสกลนคร. (Online), 25 กันยายน 2562. http://climate.tmd.go.th
Ekor, M. (2014). The growing use of herbal medicines: issues relating to adverse reactions and challenges in monitoring safety. Frontiers in pharmacology, 4, 177.
Pantanahiran, W., & Kriengkraipetch, S. (2015). The classification of suitable areas for agriculture in Sakaeo Province, Thailand. In 2015 Fourth International Conference on Agro-Geoinformatics (Agro- geoinformatics) (pp. 246-251). IEEE.
Piri, I., Moosavi,vo M., Taheri, A. Z., Alipur, H., Shojaei, S., & Mousavi, S. A. (2019). The spatial assessment of suitable areas for medicinal species of Astragalus (Astragalus hypsogeton Bunge) using the Analytic Hierarchy Process (AHP) and Geographic Information System (GIS). The Egyptian Journal of Remote Sensing and Space Science, 22(2), 193-201.
Tripathy, V., Basak, B. B., Varghese, T. S., & Saha, A. (2015). Residues and contaminants in medicinal herbs—A review. Phytochemistry Letters, 14, 67-78.
Tsou, M. H., & Smith, J. (2011). Free and Open Source software for GIS education. San Diego.
Wongkongkathep, S., Prasertsiripong, N., Stlenrut, P., Chantraket, R., & Sonksakda, M. (2017). Thai traditional and Alternative Health Profile: Thai Traditional Medicin, Indigenous Medicine and Alternative Medicine 2014- 2016. Nonthaburi: Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health.
World Health Organization. (2001). Legal status of traditional medicine and complementary (No. WHO/EDM/TRM/2001.2). Geneva: World Health Organization.